โคกกระออม สมุนไพรขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ

19 มีนาคม 2559 ไม้เลื้อย 0

โคกกระออม เป็นพรรณไม้เถาขนาดกลาง ลักษณะของเถานั้นจะเป็นรูปห้าเหลี่ยมเถาจะโตเท่าก้านไม้ขีดไฟ หรือจะเล็กกว่านั้นก็มีส่วยผิวของเถาจะเป็นสีเขียว
เป็นเถาที่มีความยาวเลื้อยเกาะพันกันขึ้นไปบนต้นไม้หรือตามกิ่งไม้ หรือเลื้อยไปตามพื้นดินและตรงข้อของเถานั้นจะมีมือสำหรับยึดเกาะ

ชื่อสามัญ : Ballon Vine, Heart Pea, Heart seed, Smooth leaved Heart Pea.
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cardiospermum halicacabum Linn.
วงศ์ : SAPINDACEAE
ชื่ออื่น ๆ : ลูบลีบเครือ ( เหนือ ) , โคกกระออม ( กลาง ) , ตุ้มต้อก (แพร่ติ๊นโข่ ไหน (จีน), โพออม (ปัตตานี), วิวี่ (ปราจีนบุรี)

ลักษณะทั่วไป
ต้น : เป็นพรรณไม้เถาขนาดกลาง ลักษณะของเถานั้นจะเป็นรูป 5 เหลี่ยม เถาจะโตเท่าก้านไม้ขีดไฟ หรือ จะเล็กกว่านั้นก็มีส่วยผิวของเถาจะเป็นสีเขียว เป็นเถาที่มีความยาวเลื้อยเกาะพันกันขึ้นไปบนต้นไม้ หรือตามกิ่งไม้ หรือเลื้อยไปตามพื้นดินและตรงข้อของเถานั้นจะมีมื อสำหรับยึดเกาะ
ใบ : ใบจะเป็นใบประกอบ ก้านใบนั้นจะยาว มีใบย่อยราว ๆ 3 ใบ ขอบใบจะเป็นหยักลึกและมีมือเกาะสั้น ๆ จะอยู่ที่ปลายยอดอยู่ระหว่างซอกเถาที่มีก้านช่อดอก มือจับจะมี2 อัน จะแยกกันออกก้านช่อดอกที่ยาว ใบนั้นจะมีสีเขียว
ดอก : ดอกช่อมีขนาดเล็กจะมีประมาณ 3-4 ดอก ดอกย่อยเป็นสีขาวเล็ก ๆ เท่าเมล็ดผักชี
เมล็ด (ผล) : ผลนั้นจะเป็นรูปสามเหลี่ยมมีความก้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ส่วนเปลือกผลนั้นจะมีลักษณะบางสี เขียวอมเหลืองผลจะโตเท่าผลพุดซา ในผลหนึ่งจะมีเมล็ดข้าวโพด มีสีเขียวอ่อนค่อนข้างนิ่ม เมื่อเมล็ด แก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีดำและแข็ง

kogkraoomtaokogkraoombai kogkraoomdok kogkraoomtoom kogkraoompon

การขยายพันธุ์ : โดยการใช้เมล็ด

kogkraoommed kogkraoomkla

สรรพคุณ :

  • เถา ใช้รักษาอาการไข้จับ
  • ใบ ยาไทย มักจะใช้ใบสดนำมาตำพอกผี ในปันจาบหรือใช้เป็นยารักษาโรคหืด และรักษาอาการไอ
  • ดอก ใช้เป็นยารักษาโลหิตในอกให้ตก
  • ผล ใช้ดับพิษทั้งปวง และใช้บำรุงน้ำดี
  • เมล็ด ใช้รักษาไข้ขับเหงื่อ
  • ราก ใช้เป็นยาทำให้อาเจียนและเป็นยาระบาย นอกจากนี้ยังใช้เป็นยารักษาซึ่งเป็ต้อและรักษาพิษงูเห่า

หมอยาพื้นบ้านบางแห่งจะใช้โคกกระออมทั้ง ๕ ต้มกินต่างน้ำ เพื่อขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ ช่วยลดความดัน และยังนิยมต้มให้คนแก่ที่มีอาการต่อมลูกหมากโตกินต่างน้ำ ซึ่งจากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าสารสกัดของโคกกระออมสามารถลดความดันโลหิตได้

kogkraooms
สมุนไพรโคกกระออมยังบำบัดอาการอักเสบ-รูมาตอยล์ได้ โดยใช้ใบโคกกระออมตำคั้นน้ำ เคี่ยวกับน้ำมันงาทาเช้า-เย็นอย่างต่อเนื่องประมาณ ๗ วัน อาการรูมาตอยด์จะค่อยๆ ดีขึ้น แล้วให้ทาติดต่อกันไปเรื่อยๆ นอกจากรูมาตอยด์แล้ว โคกกระออมยังใช้รักษาอาการอักเสบ บวม ตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย โดยใช้ใบโคกกระออมตำกับเกลือทาบริเวณที่บวม ในสมัยโบราณที่งูชุกชุมและไม่มีเซรุ่มแก้พิษงูนั้น เขาจะใช้รากของต้นโคกกระออมตำคั้นเอาน้ำมากิน ส่วนกากจะใช้พอกที่ปากแผล
นอกจากนี้ใครที่มีรังแคเขาจะทุบเถาของโคกกระออมคั้นแช่น้ำพอข้นๆ แล้วนำมาชะโลมศีรษะทิ้งไว้สักครู่แล้วล้างออกเพื่อกำจัดรังแค

kogkraoomto

ตามชนบทบางแห่งจะเรียกว่าหญ้าแมงวี ถ้าเด็กตาแดงหรือตาแฉะ และจะมีแมลงวี่ขอบมาตอมตา จะใช้ ต้นโคกกระออม นี้รวมทั้งใบสด ๆ มาพันไว้รอบศีระษะ ทำให้แมลงวี่จะกลัวไม่มาตอมตา แต่บางคนก็ เรียกหญ้าแมงวี่
หมอยาที่สุรินทร์ ผักแมงหวี่ หญ้าแมงหวี่ หรือ หมากวี๊วี มักนำมาไล่แมลงหวี่ เพราะถ้าเด็กตาแดงตาแฉะจะมีแมลงหวี่คอยมาตอมตา เขาจะใช้ทั้งเถาทั้งใบมาพันรอบหัวเด็กเพื่อไล่แมลงหวี่ไม่ให้มาตอมตาเด็ก เชื่อกันว่าแมลงหวี่กลัวสมุนไพรชนิดนี้ สมุนไพรโคกกะออมเป็นผักพื้นบ้านที่มีรสขม บำรุงธาตุ ช่วยระบายท้องสามารถรับประทานสดๆได้ ใบของโคกกระออมมีประโยชน์ทางยาอย่างมาก ชาวบ้านสมัยก่อนนิยมใช้น้ำคั้นจากใบสดๆ แก้หอบหืด

kogkraoomka

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้เลื้อย

แสดงความคิดเห็น