มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราช ดำริ พัฒนาต่อเนื่องมาจากโครงการปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2551 ในเวลานั้น โครงการปิดทองหลังพระฯ มีพันธกิจตามมติคณะรัฐมนตรี คือ เพื่อฉลองพระชนมายุครบ 80 และ 84 พรรษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้ประชาชนสามารถเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ตรงจากแนวทางโครงการพระราชดำริและน้อมนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมการเรียนรู้ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่และส่งเสริมอาชีพ ประชาชน รวมทั้งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และศิลปวัฒนธรรมไทย
ในการดำเนินภารกิจของโครงการปิดทองหลังพระฯ เพื่อสืบสานแนวพระราชดำริ ให้ขยายผลสู่ชุมชนท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชนนั้นกลับมีข้อจำกัดการที่เป็นหน่วยงานย่อยในสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ดังนั้น เพื่อให้มีหน่วยงานเฉพาะรองรับภารกิจสืบสานแนวพระราชดำริให้ขยายผลสู่ชุมชนได้อย่างกว้างขวาง คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการจัดตั้ง “มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ” และ “สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ” ทั้งนี้ได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิปิด ทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2553
วัตถุประสงค์
จัดตั้งและสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติของมูลนิธิ ให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ สอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งการจัดตั้ง
ให้สถาบัน โดยมีมูลนิธิ สนับสนุนให้ทุนดำเนินงาน มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
ผลผลิต
หลักการดำเนินงาน
มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และ สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิด ทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ มุ่งมั่นดำเนินการโดยยึด 3 หลักการ ดำเนินงานตามรอยพระยุคลบาท คือ
1. หลักการองค์ความรู้ 6 มิติ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ปิดทองหลังพระ เน้นการพัฒนาชุมชนตามหลักการองค์ความรู้ โดยปรับน้ำหนักแต่ละเรื่องตามสภาพภูมิสังคมและ สภาพปัญหาในแต่ละพื้นที่ เน้นการพัฒนาชุมชนตามหลักการองค์ความรู้ใน 6 มิติ ได้แก่ ดิน น้ำ เกษตร พลังงานทดแทน ป่า และ สิ่งแวดล้อม โดยจะปรับน้ำหนักของแต่ละเรื่องตามสภาพภูมิสังคมและสภาพปัญหาของชุมชนในแต่ละพื้นที่ ซึ่ง องค์ความรู้ 6 มิติ จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น มิติน้ำ จะเน้นการพัฒนาแหล่งน้ำ การเก็บน้ำให้อยู่ในประเทศให้นานที่สุด และการใช้น้ำทุกหยดให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยวิธีการทำฝนหลวง กังหันน้ำชัยพัฒนา การทำฝาย และการบำบัด น้ำเสียโดยวิธีชีวภาพและมิติป่า ซึ่งจะเน้นวิธีการปลูกป่า คือ การปลูกป่าในใจคน การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง การปลูกป่าต้นน้ำและบริเวณอ่างเก็บน้ำ ระบบป่าเปียก (Wet Fire Break) และการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก โดยจะให้ชุมชน มีส่วนร่วมในกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนามากที่สุด และให้ชุมชนเป็นเจ้าของโครงการเพื่อที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
2. หลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
การเข้าใจ คือ การสร้างให้เกิดความเข้าใจในข้อมูลพื้นฐาน ด้วยการศึกษาข้อมูลทุกมิติของชุมชน ค้นหารากของปัญ หาและรวบรวมองค์ความรู้ของโครงการพระราชดำริทั่วประเทศ
การเข้าถึง เป็นเรื่องการสื่อสารและสร้างการมีส่วนร่วม โดยมุ่งสื่อสารสร้างความเข้าใจและความมั่นใจกับชุมชน ร่วม กันวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของชุมชน และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวน การพัฒนามากที่สุด
การพัฒนา เป็นเรื่องของการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชน สร้างทีมพี่เลี้ยง การออกแบบหลักสูตรและเมนูการ พัฒนาการศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกปกิบัติของชุมชน รวมทั้งการให้ทีมพี่เลี้ยงให้คำแนะนำใน ชุมชนและติดตามสนับสนุนประเมินผล
บันไดทั้งสามขั้นนี้ จะทำให้ชุมชนมีความเป็นเจ้าของและนำไปสู่ความยั่งยืนของการพัฒนาในที่สุดบันไดทั้ง 3 ขั้นนี้มุ่งไปสู่การพัฒนาให้ชุมชนมีความเป็นเจ้าของและนำไปสู่ความยั่งยืนในที่สุด
3. หลักการทรงงานและหลักการโครงการ
ปิดทองหลังพระ มุ่งมั่นดำเนินการโดยน้อมนำหลักการทรงงานและหลักการโครงการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็น หลักในการปฏิบัติงาน โดยการนำไปปรับใช้กับพื้นที่ต่างๆ ที่ปิดทองหลังพระเลือกเป็นพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการองค์ ความรู้ตามแนวพระราชดำริ เช่นที่จังหวัดน่า
มูลนิธิชัยพัฒนาให้ความร่วมมือกับโครงการปิดทองหลังพระในขอบข่ายงานที่มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการอยู่ โดยสามารถเข้ามาศึกษาในพื้นที่ที่มูลนิธิชัยพัฒนาดูแล และขอตัวเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบไปให้องค์ความรู้หรือช่วยงานโครงการฯ เป็นครั้งคราวได้ เช่นการนำบุคคลากรจากโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ไปให้ความรู้ในโครงการปิดทองหลังพระ เป็นต้น การดำเนินความร่วมมือระหว่างโครงการเปิดทองหลังพระ มูลนิธิชัยพัฒนา และสำนักงาน กปร. จะเป็นไปในลักษณะ 3 ประสาน ทำงานร่วมกัน โดยใช้ 6 ศูนย์การพัฒนาฯ เป็นฐานปฏิบัติ
แนวทางปฏิบัติงาน
มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ได้ประยุกต์หลักการดำเนินงานสู่แนวทางปฏิบัติ ดังนี้
1. แนวปฏิบัติในการประยุกต์เรื่องการบริหารต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ
ต้นน้ำ
ต้นน้ำ เป็นแหล่งองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริจะประกอบด้วยความรู้จากศูนย์ศึกษาการพัฒนา โครงการส่วนพระองค์ โครงการตามพระราชประสงค์ โครงการหลวง โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์
กลางน้ำ
จะเป็นส่วนที่ปิดทองหลังพระ มีบทบาทเป็นสะพานเชื่อมระหว่างต้นน้ำกับปลายน้ำ โดยมุ่งเน้นด้านการจัดการความรู้ การส่งเสริมการพัฒนา และการสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือ
ปลายน้ำ
จะเป็นการบูรณาการระดับพื้นที่ ชุมชน ท้องถิ่น และจังหวัด เพื่อนำองค์ความรู้จากโครงการพระราชดำริเชื่อมโยง และปรับใช้ในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสมกับภูมิสังคม และภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น โดยมุ่งเป้าหมายให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข
2. แนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ 7 ขั้นตอน
ประยุกต์จากหลักการ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา คือ
3. แนวทางการบูรณาการเชิงพื้นที่
เน้นการบริหารจัดการเพื่อนำศักยภาพของพื้นที่และภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนา และให้ความสำคัญต่อการบูรณาการทุนการพัฒนาด้านต่างๆ ในจังหวัด ทั้งความรู้จากศูนย์ศึกษาการพัฒนา งบประมาณ และโครงการพระราชดำริ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและพัฒนาอย่างสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ และตรงกับความต้องการของประชาชน
ผลการดำเนินงาน
มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ
สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ
ที่อยู่ : 989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้น 26 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ : 0-2611-5000
ฝ่ายสำนักผู้อำนวยการ 02-611-5005, 02-611-5016
ฝ่ายบริหารสำนักงาน 02-611-5007
ฝ่ายส่งเสริมการพัฒนา 02-611-5008, 02-611-5012
ฝ่ายจัดการความรู้ 02-611-5006, 02-611-5099
ฝ่ายสื่อสารสาธารณะและภาคีสัมพันธ์ 02-611-5009, 02-611-5010, 02-611-5045
โทรสาร : 0-2658-1413
อีเมล์ : info@pidthong.org
เว็บไซต์ : www.pidthong.org
ป้ายคำ : ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง, เกษตรกรรมยั่งยืน