จัดตั้งศูนย์สาธิตและทดลองการเกษตร เพื่อศึกษาหาข้อมูลในด้านการปลูกพืช และการเลี้ยงสัตว์ที่เป็นประโยชน์ต่อการ พัฒนาการเกษตรในพื้นที่ที่แห้งแล้ง และสาธิตการใช้เทคโนโลยีการเกษตรจัดสรรที่ดินว่างเปล่าให้เกษตรกรเพาะปลูก ตามวิธีการเกษตรแผนใหม่ และจัดตั้งเป็นสหกรณ์การเกษตร
หุบกะพงอยู่ห่างจากฝั่งทะเลประมาณ 6 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 12,500 ไร่ ความกว้างเฉลี่ย 2.8 กิโลเมตร ความยาวเฉลี่ย 7 กิโลเมตร ทิศเหนือจดเขาโป่ง ทิศใต้จดบ้านบ่อแขม ทิศตะวันออกจดหมู่บ้านหนองยาว ทิศตะวันตกจดเขาหุบสบู่,เขาช่องม่วง และเขาหนอกวัว พื้นที่หุบกะพงอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 40 เมตร ดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายและดินทราย ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน 5.4 6.5 หน้าดินตื้น จากการวิเคราะห์ดิน สามารถแบ่งดินได้เป็น 4 หมวด คือ ดินหมวด สัตหีบ ดินหมวดท่าตะโก ดินหมวดหนองแก และดินหมวดหุบกะพง ฝนตกเฉลี่ยประมาณ 700 มิลลิเมตรต่อปี การกระจายของฝนแปรปรวนมาก มักมีช่วงฝนแล้งเป็นเวลานาน ๆ อากาศแห้งแล้งลมพัดแรง ความชื้นเฉลี่ย 62-80% อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 35.1 องศาเซลเซียส และต่ำ 16.4 องศาเซลเซียส และมี ช่วงอากาศหนาวในรอบปีประมาณ 2 – 3 สัปดาห์
ที่ตั้ง
หุบกะพงตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลเขาใหญ่ และตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
อยู่ห่างจากจังหวัดเพชรบุรี 40 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากเขตอำเภอหัวหิน 34 กิโลเมตร
ความเป็นมาของโครงการ
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ องค์ปัจจุบันเสด็จแปรพระราชฐานประทับ ณ พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อปี พ.ศ. 2507 พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียน และดูแลทุกข์สุขของราษฎรตามท้องที่เขตจังหวัดใกล้เคียง ในวโรกาสนั้น พระองค์ได้ทราบถึงความเดือดร้อนของเกษตรกรกลุ่มชาวสวนผักชะอำ จำนวน 83 ครอบครัว ว่าขาดแคลนทุนทรัพย์ ที่จะนำไปประกอบอาชีพ พระองค์จึงทรงรับเกษตรกรเหล่านี้ไว้นพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมทั้งพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้กู้ยืมไปลงทุน เป็นจำนวนเงิน 3 แสนบาท ภายหลังไม่ปรากฏผู้ใดนำเงินจำนวนที่กู้ยืมไปทูลเกล้าถวายคืนแก่พระองค์ท่านเลย และความได้ทราบฝ่าละอองพระบาทว่าเกษตรกรเหล่านี้ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ได้อาศัยเช่าของกรมประชาสงเคราะห์ โดยเฉลี่ยครอบครัวละไม่เกิน 2 ไร่ ซึ่งไม่เพียงพอต่อการประกอบอาชีพ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ฯพณฯ องคมนตรี ม.ล.เดช สนิทวงศ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปจัดหาพื้นที่ในเขตจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นำมาจัดสรรให้แก่เกษตรกรดังกล่าวต่อไป ขณะเดียวกันนั้นรัฐบาลอิสราเอล โดย ฯพณฯ เอกอัครราชฑูตอิสราเอลประจำประเทศไทยขอทราบหลักการของโครงการและอาสาที่จะช่วยเหลือในการพัฒนาการเกษตรในรูปของผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ต่อมาสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติได้เสนอหลักการของโครงการต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้มีมติเห็นชอบด้วยกับโครงการ ได้ทำสัญญาร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลอิสราเอล โครงการนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2509 กำหนดระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี สิ้นสุดเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2514 ใช้ชื่อว่า โครงการไทย-อิสราเอล เพื่อพัฒนาชนบท (หุบกะพง) คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ (เดิม) และกระทรวงเกษตร (เดิม) ร่วมมือกันเป็นเจ้าของเรื่อง พร้อมทั้งตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง ซึ่ง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงเกษตรเป็นรองประธาน และผู้แทนจากหน่วยราชการอื่นร่วมเป็นกรรมการ เช่น เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นต้น ด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการทุกฝ่ายได้เลือกที่ดินบริเวณหุบกะพง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นที่ตั้งของศูนย์สาธิตและทดลองการเกษตรของโครงการอิสราเอล โดยเหตุผลที่ว่าเดิมที่ดินบริเวณนี้เป็นป่าคุ้มครองของกรมป่าไม้ มีราษฎรเข้าไปจับจองอยู่บ้าง แต่การทำมาหากินไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เนื่องจากสภาพที่ดินส่วนใหญ่เป็นดินเลวขาดแคลนน้ำ การทำไร่จึงเป็นลักษณะไร่เลื่อนลอย ต้องย้ายที่อยู่เสมอทุกระยะ 3 4 ปี การจับจองไม่สัมฤทธิ์ผล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงทรงมีพระราชดำริให้กันพื้นที่ประมาณ 10,000 ไร่ ออกจากป่าคุ้มครองของกรมป่าไม้ ภายหลังพระองค์ทรงจับจองพื้นที่ดังกล่าวเยี่ยงสามัญชน โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายป่าไม้และกฎหมายที่ดินทุกประการ เมื่อมีแนวพัฒนาที่ดินดีขึ้นแล้ว ก็จะจัดให้กับเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนในตอนต้น และเกษตรกรที่ขยันหมั่นเพียรแต่ขาดแคลนที่ดินทำกินเข้าอยู่อาศัย และทำประโยชน์ต่อไป
หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จึงได้ร่วมกันจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ และสำรวจแหล่งเก็บกักน้ำ และดินทั่ว ๆ ไป ตลอดจนสำรวจแหล่งน้ำใต้ดินในบริเวณพื้นที่โครงการ ได้มีการขุดเจาะพบน้ำ-บาดาล แต่ปริมาณน้อย ภายหลังได้ตั้งเครื่องยนต์สูบน้ำขึ้นเพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการชลประทาน เพื่อการเกษตร จากการสำรวจปรากฏว่า ดินส่วนใหญ่มีคุณภาพเลว คือ ประมาณ 6,500 ไร่ ส่วนที่เหลือเป็นดินเลวปนดีพอที่จะทำกสิกรรมได้บ้าง
เมื่อได้มีการพัฒนาที่ดินและจัดระบบชลประทานในพื้นที่ 500 ไร่ แล้วตั้งเป็นศูนย์สาธิตทดลองการเกษตร พร้อมทั้งอพยพเกษตรกร 2 ครอบครัว ครอบครัวแรกจากกลุ่มเกษตรกรสวนผักชะอำซึ่งได้รับความเดือดร้อนในตอนต้น และอีกครอบครัวหนึ่งเป็นเกษตรกรเดิมที่อาศัยที่ทำกินในเขตโครงการ โดยจัดที่ดินให้ครอบครัวละ 25 ไร่ จัดให้ปลูกพืชอาศัยน้ำชลประทาน 7 ไร่ อีก 18 ไร่ ให้ปลูกพืชไร่อาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ มีเจ้าหน้าที่เป็นผู้วางแผนการปลูก และกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ให้เกษตรกรทั้ง 2 ครอบครัว กู้ยืมเงินเป็นทุนสำหรับการประกอบอาชีพครอบครัวละ 10,000 บาท โดยไม่คิดดอกเบี้ย ทั้งนี้เพื่อหาข้อมูลทางด้านต่าง ๆ เช่น ในด้านรายได้ รายจ่าย ความเหมาะสมของการใช้แรงงานในครัวเรือนกับขนาดของพื้นที่ที่จัดให้ การปลูกพืชใช้น้ำชลประทาน การปลูกพืชอาศัยน้ำฝนตลอดจนการจัดบริการในด้านสินเชื่อ และการตลาด รวมทั้งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์การเกษตร ปัญหาด้านสังคมของเกษตรกรประกอบการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงเพื่ออพยพครอบครัวของเกษตรกรที่เหลือเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านบ้านเกษตรกรต่อไป ภายหลังเมื่อครบปีการผลิต เกษตรกรทั้ง 2 ครอบครัว สามารถใช้หนี้คืนแก่กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ และยังมีเหลือเป็นทุนสำรองสำหรับการประกอบอาชีพในปีต่อไป
เมื่อได้รับข้อมูลจากครอบครัวเกษตรกรตัวอย่างทั้ง 2 ครอบครัวแล้ว ในปี พ.ศ. 2511 จึงอพยพครอบครัวเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนในตอนต้นทีเหลืออีก 82 ครอบครัว และเกษตรกรที่เข้ามาทำประโยชน์อยู่เดิมอีก 46 ครอบครัว เข้าอาศัยและทำประโยชน์ในพื้นที่ที่จัดสรรให้ครอบครัวละ 25 ไร่ และโครงการได้ให้กู้ยืมเงินครอบครัวละ 6,000 บาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกบ้านเรือน 1,500 บาท ส่วนที่เหลืออีก 4,500 บาท เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับวัสดุการเกษตร และค่าใช้จ่ายในครอบครัว โดยปีแรกไม่ต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 6
การอพยพครอบครัวเกษตรกรเหล่านี้ ได้จัดให้สร้างที่อยู่อาศัยรวมเป็นหมู่บ้านเกษตรกรขึ้นโดยมีทางราชการคอยช่วยเหลือ ให้คำแนะนำการบริหารงานของหมู่บ้านตัวอย่างให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ขณะเดียวกันได้มีการให้การศึกษาอบรมเกี่ยวกับหลักและวิธีการของสหกรณ์จนเห็นว่า สมาชิกของหมู่บ้านเกษตรกรมีความเข้าใจได้ดีพอแล้ว จึงเข้าชื่อกันเพื่อขอจดทะเบียนเป็นสหกรณ์การเกษตร โดยชื่อว่า สหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2514 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โปรดเกล้าพระราชทานทะเบียนให้ผู้แทนสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด กับได้พระราชทานโฉนดที่ดินบริเวณหุบกะพง จำนวน 3 ฉบับ รวมพื้นที่ 12,079 1 82 ไร่ ให้กับกรมส่งเสริมสหกรณ์ และสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบ ตั้งแต่บัดนั้น การดำเนินโครงการมีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นผู้รับผิดชอบ
วัตถุประสงค์ของโครงการ
รูปแบบการจัดที่ดินของโครงการ
รูปแบบการจัดที่ดิน จัดให้เกษตรกรทำประโยชน์ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
เกษตรกรของโครงการจะได้รับการจัดที่ดิน รายละ 2 แปลง โดยให้สิทธิ ประโยชน์ชั่วลูกชั่วหลาน แต่ไม่ให้กรรมสิทธิในที่ดินเพื่อป้องกันการซื้อขายเปลี่ยนมือ ทำให้โครงการฯ ผิดไปจากวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้กำหนดระเบียบถือใช้ ได้แก่ ระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วยการจัดสรรที่ดินหมู่บ้านสหกรณ์โครงการหุบกะพง พ.ศ. 2524
ผลการจัดที่ดิน ได้ดำเนินการจัดแบ่งที่ดินให้เกษตรกรเข้าอยู่และทำประโยชน์ จำนวน 5 รุ่น พื้นที่รวม 7,608 ไร่ ได้แก่
งานส่งเสริมสหกรณ์
ในพื้นที่โครงการตามพระราชประสงค์หุบกะพง มีสถาบันเกษตรกรซึ่งถือว่าเป็นสถาบันหลักของโครงการฯ คือ สหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด เป็นสหกรณ์ประเภทสหกรณ์การเกษตร จดทะเบียนเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2514 เกษตรกรในโครงการเป็นสมาชิกสหกรณ์ ธุรกิจของสหกรณ์ที่บริการสมาชิก คือ
ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ในปีแรก (พ.ศ. 2515) สหกรณ์มีทุนดำเนินงาน 253,677.50 บาท มีทุนเรือนหุ้น 175,000 บาท มีเงินสำรอง 60,661.50 บาท และมีกำไรจากการดำเนินงานในปีแรก จำนวน 3,376.22 บาท กิจการสหกรณ์ได้เจริญขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบันสหกรณ์มีสมาชิก จำนวน 420 ครอบครัว มีผลการดำเนินงาน (30 มิถุนายน 2549) สรุปได้ดังนี้
สหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด ยังมีกลุ่มสตรีสหกรณ์ในสังกัดอีกจำนวน 6 กลุ่ม ดังนี้
ขั้นตอนการขออนุญาตเข้าศึกษาดูงาน
กิจกรรมการศึกษาดูงาน
ณ ศูนย์เรียนรู้โครงการตามพระราชประสงค์หุบกะพง สรุปโดยย่อ
กิจกรรมที่ 1 เข้ารับฟังบรรยายสรุปประวัติความเป็นมาของโครงการฯ
ณ อาคารคุ้มเกล้าสหกรณ์ ประมาณ 1 ชั่วโมง (ในบริเวณศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการหุบกะพง)
กิจกรรมที่ 2 เข้าเยี่ยมชมสถานีเรียนรู้จากแปลงสาธิตการเกษตรของจริง โดยจะได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์ตรงจากเกษตรกรตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพในการเกษตร จำนวน 6 สถานี ให้ท่านได้เลือกชม ประกอบด้วย
ซึ่งทั้ง 6 สถานี จะใช้เวลาเยี่ยมชมประมาณ สถานีละ 30 นาที (ขึ้นอยู่กับเงื่อนเวลาของแต่ละคณะที่เข้าเยี่ยมชม) โดยให้คณะผู้เข้าเยี่ยมชมสามารถเลือกเยี่ยมชมได้ตามความประสงค์
ศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการหุบกะพง หมู่ 8 ต.เขาใหญ่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี 76120
โทร,471543 โทรสาร 0-3247-1543
E-mail : hubkapong@hotmail.com
ป้ายคำ : เศรษฐกิจพอเพียง