โป๊ยเซียน ต้นไม้แห่งโชคลาภตามความเชื่อถือแต่โบราณ จัดเป็นไม้อวบน้ำอยู่ในวงศ์ Euphorbiaceae ซึ่งเป็นวงศ์ใหญ่มาก พบได้ทั่วไปในประเทศเขตร้อน พืชในวงศ์นี้มีมากกว่า 300 สกุล โป๊ยเซียนจัดเป็นพืชที่อยู่ในสกุล Euphorbia ซึ่งพืชในสกุลนี้มีไม่ต่ำกว่า 2,500 ชนิด ได้แก่ คริสต์มาส สลัดได ส้มเช้า หญ้ายาง และ กระบองเพชรบางชนิด
โป๊ยเซียน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มงกุฎหนาม (Crown of Thorns) เนื่องจากลักษณะของลำตันที่มีหนามอยู่รอบเหมือนมงกุฎ นอกจากนี้ยังมีชื่อแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค เช่น กรุงเทพฯ เรียก ไม้รับแขก เชียงใหม่ เรียก ไม้ระวิงระไว, พระเจ้ารอบโลก หรือ ว่านเข็มพระอินทร์ แม่ฮ่องสอน เรียก ว่านมุงเมือง แต่คนไทยคุ้นเคยและรู้จักกันในชื่อ โป๊ยเซียน มาช้านาน คำว่า โป๊ยเซียน เป็นคำในภาษาจีน แปลว่า เทพยดาผู้วิเศษ 8 องค์ ดังนั้นจึงมีความเชื่อกันว่าถ้าโป๊ยเซียนออกดอกครบ 8 ดอกในหนึ่งช่อจะนำความโชคดีให้แก่ผู้ปลูกเลี้ยง ด้วยเหตุนี้เองจึงมีผู้สันนิษฐานว่าชาวจีนน่าจะเป็นผู้นำโป๊ยเซียนเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทย ครั้งสมัยที่มีการติดต่อค้าขายกับคนไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งแต่เดิมนั้นดอกของโป๊ยเซียนจะมีขนาด 1-2 ซม. เท่านั้น แต่ในปัจจุบันคนไทยได้ผสมพันธุ์และพัฒนาสายพันธุ์โป๊ยเซียนจนมีขนาดดอกใหญ่กว่า 6 ซม. นอกจากนี้ดอกยังมีสีสันที่สวยงาม จนอาจกล่าวได้ว่าโป๊ยเซียนไทยดีที่สุดในโลก
ชื่อวิทยาศาสตร์: Euphorbia milii Desmoul.
ชื่อสามัญ: Crown of Thorns, Christ Thorn
วงศ์: EUPHORBIACEAE
ลักษณะโดยทั่วไป
โป๊ยเซียนเป็นไม้อวบน้ำที่มียางและหนามบริเวณลำต้น ทรงต้นเป็นทรงพุ่ม มีอายุยืนนับสิบปี เป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศเนื่องจากสามารถสะสมน้ำไว้ตามลำต้นและใบ จึงทำให้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ส่วนประกอบโดยทั่วไปของโป๊ยเซียนมีดังนี้
ลำต้น มีลักษณะเป็นไม้อวบน้ำมีหนามแหลมรอบลำต้น อาจมีรูปร่างกลมหรือเหลี่ยมบิดเป็นเกลียวแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ เมื่อโป๊ยเซียนมีอายุมากขึ้นเนื้อไม้จะแข็งแต่ไม่มีแก่นเหมือนไม้ยืนต้นทั่วไป สีของลำต้นมีสีเทาอมน้ำตาลถึงเทาอมดำ
หนาม เกิดรอบลำต้น มีลักษณะฐานใหญ่ปลายเรียวแหลม อาจงอขึ้นหรือชี้ลงไม่แน่นอน การแตกของหนามอาจแตกเป็นหนามเดี่ยว หนามคู่ หรือหนามกลุ่มตั้งแต่สามหนามขึ้นไป กลุ่มของหนามอาจจะเรียงกันเป็นระเบียบ ตามแนวลำต้นเป็นเส้นตรงหรือบิดเป็นเกลียวรอบต้นก็ได้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
การขยายพันธุ์
การปักชำกิ่ง
เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ง่ายและประหยัด นอกจากนี้ยังขยายพันธุ์ได้คราวละมากๆ ต้นใหม่ที่ได้จะมีลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกประการ แต่จะใช้เวลาในการงอกของรากนานและโอกาสที่กิ่งชำจะเน่าก็มีมาก ดังนั้นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปักชำจึงควรเป็นช่วงฤดูหนาว คือช่วงประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม ขั้นตอนการปักชำกิ่งมีดังนี้
การตอนกิ่ง
ใช้เมื่อต้นพันธุ์ดีมีความสูงเกินไปและทิ้งใบทำให้ดูเก้งก้างไม่สวยงาม การตอนจะช่วยให้ได้ต้นใหม่ที่มีขนาดเตี้ยลงแต่มีความแข็งแรงและเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว สามารถตั้งทำดอกประกวดได้เร็ว ขั้นตอนการตอนกิ่งมีดังนี้
การเสียบกิ่ง
เป็นการนำกิ่งพันธุ์ที่ดีราคาแพงมาเสียบกับต้นตอที่ราคาถูกและแข็งแรง ซึ่งพันธุ์ที่นิยมใช้เป็นต้นตอคือพันธุ์แดงอุดม วิธีนี้เป็นวิธีที่ผู้ปลูกเลี้ยงโป๊ยเซียนนิยมกันมาก ทั้งนี้เพราะต้นใหม่ที่ได้จะแข็งแรงและมีโอกาสรอดสูง อีกทั้งยังใช้เวลาสั้นกว่าการขยายพันธุ์แบบอื่น ขั้นตอนที่สำคัญมีดังนี้
การเตรียมต้นตอ ต้นตอที่นิยมใช้เป็นโป๊ยเซียนพันธุ์แดงอุดม เนื่องจาก มีลำต้นแข็งแรง หาอาหารเก่ง ทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อมได้ดี วิธีการเตรียมต้นตอมีดังนี้
การเพาะเมล็ด
ส่วนใหญ่จะทำการเพาะเมล็ดเมื่อมีการผสมพันธุ์โป๊ยเซียนจากเกสรตัวผู้และตัวเมียที่ต่างสายพันธุ์กัน จุดประสงค์เพื่อให้ได้โป๊ยเซียนพันธุ์ใหม่ที่เรียกกันว่า “ลูกไม้” ที่มีลักษณะของ ลำต้น ดอก หนาม ใบ และอื่นๆ ที่ดีกว่าเดิม เมล็ดที่ได้จากการผสมพันธุ์มีวิธีการเพาะดังนี้ เตรียมภาชนะที่ใช้ในการเพาะเมล็ดอาจใช้กระถางหรือกระบะพลาสติกก็ได้แต่ควรเป็นภาชนะที่ระบายน้ำได้ดีไม่มีน้ำขัง นำวัสดุเพาะที่มีส่วนผสมระหว่างขุยมะพร้าวกับทรายในอัตราส่วนเท่าๆ กัน เทลงในภาชนะแล้วเกลี่ยให้เรียบพร้อมกับกดให้แน่นพอประมาณ
นำเมล็ดที่ได้จากการผสมพันธุ์ โดยใช้เมล็ดแก่สังเกตจากเมล็ดที่เป็นสีน้ำตาลมาวางไว้บนวัสดุเพาะแล้วกลบด้วยวัสดุเพาะหนาประมาณ 1 ซม. รดด้วยน้ำที่ผสมยาป้องกันเชื้อรา
นำภาชนะเพาะไปตั้งบริเวณที่มีแสงรำไรอากาศถ่ายเทได้สะดวก รดน้ำวันละครั้งแต่อย่าให้แฉะ ประมาณ 1-2 สัปดาห์จะมีต้นกล้างอกเจริญเติบโตขึ้นมา เมื่อต้นกล้าเจริญเติบโตจนมีใบประมาณ 5-7 ใบ จึงทำการย้ายลงปลูกในกระถางใหม่ต่อไป
การปลูกเลี้ยงและดูแลรักษา
แม้ว่าต้นโป๊ยเซียนจะสามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีในทุกภูมิภาคของไทยก็ตาม แต่การปลูกโป๊ยเซียนให้สวยงามนั้น นอกจากสภาพแวดล้อมแล้ว การดูแลรักษาก็นับว่ามีส่วนสำคัญ
ดินปลูก
ควรเป็นดินชั้นบนมีอินทรียวัตถุพวกเศษพืช โดยเฉพาะใบก้ามปูและใบทองหลางที่เน่าเปื่อยผุพังคลุกเคล้าอยู่ในดินจนเป็นเนื้อเดียวกัน ดินประเภทนี้จะอุ้มน้ำและระบายอากาศได้ดี ทำให้รากของโป๊ยเซียนแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว การใช้ดินปลูกที่แน่นทึบและมีน้ำขังอาจทำให้รากและต้นโป๊ยเซียนเน่าได้ เมื่อปลูกโป๊ยเซียนได้ระยะหนึ่งควรทำการพรวนดินรอบๆ กระถางปลูก ห่างจากโคนต้นประมาณ 2 นิ้ว พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยคอกลงไปในดินประมาณ 1-2 ช้อนแกง และควรเปลี่ยนดินปลูกทุกปี
แสงแดด
โป๊ยเซียนเป็นไม้ที่ชอบแดด การปลูกถ้าให้โป๊ยเซียนได้รับแสงแดดประมาณ 60-70% จะดีมาก โดยเฉพาะแดดตอนเช้าถึงตอนสายก่อนเที่ยง ถ้าได้รับแสงแดด 100% ทั้งวันต้นจะแข็งแรง สีของดอกจะเข้มแต่เล็กลงกว่าเดิม นอกจากนี้ใบยังอาจจะไหม้เกรียมได้ ถ้าให้โป๊ยเซียนได้รับแดดน้อยหรืออยู่ในร่ม ดอกจะโต สีดอกไม่เข้ม ต้นไม่แข็งแรง ดังนั้นจึงควรจัดให้โป๊ยเซียนได้รับแสงแดดประมาณ 60-70% โดยใช้ตาข่ายพรางแสงช่วยก็จะดีมาก อย่างไรก็ตามในฤดูร้อนอากาศแห้งแล้งแดดจัดและร้อนมากเกินไปอาจทำให้โป๊ยเซียนเหี่ยวเฉาได้ ดังนั้นความชุ่มชื้นในอากาศก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโป๊ยเซียนเช่นกัน
การรดน้ำ
ตามปกติควรรดน้ำวันละครั้งในตอนเช้าและควรรักษาระดับความชื้นของดินให้พอเหมาะไม่แฉะหรือแห้งเกินไป เช่น ถ้าเป็นช่วงฤดูแล้งดินปลูกแห้งมากควรรดน้ำทั้งเช้าและเย็น ฤดูฝนถ้าวันใดฝนตกก็ไม่จำเป็นต้องรดน้ำแต่ควรตรวจดูผิวดินในกระถางด้วย ทั้งนี้เพราะใบของโป๊ยเซียนอาจปกคลุมกระถางจนทำให้ฝนที่ตกลงมาไม่สามารถลงไปในกระถางได้ ถ้าโป๊ยเซียนกำลังออกดอกควรหลีกเลี่ยงอย่าให้น้ำไปถูกดอกเพราะจะทำให้ดอกเน่าและร่วงเร็วกว่าปกติ สำหรับน้ำที่ใช้รดควรเป็นน้ำที่มีสภาพเป็นกลาง ถ้าน้ำมีสภาพเป็นกรดอาจผสมปูนที่ใช้กินกับหมากลงไปเล็กน้อยก็ได้ ถ้าเป็นน้ำประปาหรือน้ำบาดาลควรมีบ่อหรือถังพักน้ำไว้หลายๆ วันจึงจะนำมาใช้ได้
การตัดแต่งกิ่ง
โป๊ยเซียนบางต้นมีการแตกกิ่งก้านสาขามาก บางต้นมีลำต้นเดียวไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา ต้นที่มีกิ่งก้านสาขามากจะเป็นพุ่มทึบแสงแดดและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ทำให้โป๊ยเซียนออกดอกน้อยและมีขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งหลบซ่อนของโรคและแมลงศัตรูพืช ควรตัดกิ่งก้านออกบ้างเพื่อให้แสงและอากาศถ่ายเทได้สะดวก การตัดควรตัดให้ชิดลำต้นไม่ควรเหลือตอกิ่งไว้ กิ่งที่เหลือไว้ควรให้มีรูปทรงสวยงามเป็นไปตามธรรมชาติ หลังจากตัดกิ่งออกแล้วควรใช้ปูนแดงทาบริเวณรอยตัดเพื่อป้องกันเชื้อรา ส่วนกิ่งที่ตัดออกอาจนำไปขยายพันธุ์ต่อไป สำหรับโป๊ยเซียนที่มีลำต้นเดี่ยวไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ถ้ากิ่งสูงมากเมื่อโดนลมแรงๆ อาจทำให้ต้นหักได้ควรตัดยอดไปขยายพันธุ์เป็นต้นใหม่ ส่วนโคนที่เหลือก็จะแตกกิ่งก้านออกมาใหม่
การให้ปุ๋ย
เมื่อปลูกโป๊ยเซียนเป็นเวลานานธาตุอาหารในดินก็จะถูกใช้ไปเรื่อยๆ จึงจำเป็นต้องเพิ่มธาตุอาหารหรือปุ๋ยลงไปในดิน การใส่ปุ๋ยให้กับโป๊ยเซียนสามารถใส่ได้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์อาจเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เช่น มูลวัว มูลสุกร มูลไก่ มูลค้างคาว รวมทั้งปุ๋ย กทม. ปุ๋ยเหล่านี้ทำให้ดินร่วนซุย ระบายถ่ายเทอากาศได้ดี ควรใส่เดือนละครั้งสลับกับการใส่ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีควรใช้ปุ๋ยที่มีคุณภาพดีซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งปุ๋ยละลายช้า ปุ๋ยเกล็ดและปุ๋ยน้ำโดยปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลากอย่างเคร่งครัด การให้ปุ๋ยเคมีควรให้ในช่วงเช้าและควรงดน้ำก่อนให้ปุ๋ย 1 วันเพื่อกระตุ้นให้รากดูดปุ๋ยได้มากขึ้น ควรรดหรือโรยเฉลี่ยรอบๆ ต้นเดือนละ 1-2 ครั้ง สำหรับไม้ที่ปลูกใหม่ๆ ยังไม่ควรให้ปุ๋ยเคมีเพราะระบบรากยังจับตัวกับดินไม่ดีพอประกอบกับรากอาจมีการฉีกขาด เนื่องจากการเปลี่ยนดินทำให้ปุ๋ยกระทบรากโดยตรงและเร็วเกินไป อาจทำให้โป๊ยเซียนตายได้
การใส่ปุ๋ยเพื่อให้โป๊ยเซียนออกกิ่งหรือดอกมีวิธีปฏิบัติดังนี้
โป๊ยเซียนที่เกิดจากการผสมพันธุ์และได้พันธุ์ใหม่ ๆ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันด้วยฝีมือคุณประเสริฐมีอยู่หลายพันธุ์ ที่นิยมในปัจจุบันก็คือ กำแพงเมืองจีน เจ้าเซียน และเจ้ายุทธ์ นับเป็นแบบฉบับของกำแพงเมืองจีนที่มีรูปทรงงดงามมาก ราคาแพงและหายาก ขณะนี้คุณประเสริฐกำลังขยายพันธุ์โป๊ยเซียนดอกหอมที่ชื่อ ราชินีกลิ่นหอม อยู่ซึ่งได้มาโดยบังเอิญ เมื่อสังเกตเห็นแมลงมาดมมากกว่าต้นอื่น พอเข้าไปดมดูบ้าง ปรากฎว่าดอกมีกลิ่นหอม ขณะนี้ยังหวงพันธุ์อยู่ไม่เอาออกตลาดมากนัก และตั้งราคาไว้สูง คุณประเสริฐส่งท้ายถึงโป๊ยเซียนว่า โป๊ยเซียนเป็นไม้แห่งโชคลาภจริงๆ เพราะโป๊ยเซียนทำให้ผมมีบ้าน มีรถยนต์ และมีความเป็นอยู่ที่สบายขึ้นมาก
ป้ายคำ : ไม้ดอก