โมโรเฮยะหรือที่รู้จักกันในชื่อ mulukhiya หรือใบมาลโลว์ (mallow leaf) ถูกปลูกในอียิปต์ตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อนำเส้นใยมาทำใยปอเพื่อใช้ประโยชน์ในงานสานและนำใบอ่อนมาทำเป็นอาหารจานอร่อยของอียิปต์รวมถึงสตูว์ คนจำนวนมากไม่ทราบว่าผักชนิดนี้มีคุณค่าอาหารที่สูงอย่างไม่คาดคิดจนกระทั่งกระทรวงการศึกษาและวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่นรายงานว่าโมโรเฮยะเป็นผักที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุและไฟเบอร์ในปริมาณที่สูงเหนือกว่าผักส่วนใหญ่ที่ได้ชื่อว่ามีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น ผักขม แครอท และบร็อคโคลี่ เป็นต้น
โมโรเฮยะ เป็นพืชเมืองร้อน แต่เดิมเป็นพืชป่า รู้จักกันดีตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะในประเทศอียิปต์ ถือเป็นผักที่เสริมสุขภาพ ได้มีผู้ขนานนามว่า ผักชาวัง ปอโมโรเฮยะ เป็นปอกระเจากินใบ มีลักษณะคล้ายปอกระเจาฝักขาว แต่มีขนาดใบ ดอก และเมล็ดเล็กว่าพันธุ์ปอกระเจา ที่ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะทั่วไป ลำต้นและใบมีสีแดง แตกกิ่งมาก ไม่มีหนาม สูงประมาณ 1-2 เมตร ใบสีเขียว ยาวรีคล้ายใบพู่ระหง ออกดอกเมื่ออายุ 70-80 วัน เจริญเติบโตเร็วและแตกกิ่งมากกว่าปอกระเจาพันธุ์อื่น โดยเฉพาะในดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว และดินในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ
ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร ได้ทำการสำรวจและศึกษาการผลิตใบปอโมโรเฮยะของ เกษตรกรที่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ได้รับการชี้แจงเกี่ยวกับสรรพคุณจาก นายไกรเลิศ ทวีกุล ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาชนบทผสมผสานบ้านไผ่ ระบุว่าปอโมโรเฮยะ มีสรรพคุณช่วย ชะลอความชรา มีผลยับยั้งมะเร็ง แก้โรคเบาหวาน แก้ท้องผูก รักษาโรคกระเพาะลำไส้ ความดันโลหิตสูง โรคภูมิแพ้ โรคโลหิตจาง บรรเทาอาการอ่อนเพลีย กินเป็นประจำจะช่วยผิวสวย คุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่ง คือ มีสรรพคุณเหมือนกับยาโด๊ปยี่ห้อดัง นับว่า เป็นผักเสริมสร้างสุขภาพ นิยมนำมาบริโภคโดยปรุงเป็นซุปต่าง ๆ โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่น นำไปปลูกและศึกษาจนพบว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูง
เนื่องจากอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และไฟเบอร์ การรับประทานผักจะช่วยเสริมสร้างการทำงานที่มีประสิทธิภาพของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย รักษาความดันโลหิตสูง โรคภูมิแพ้ โรคโลหิตจาง บรรเทาอาการอ่อนเพลีย บำรุงผิวพรรณ ช่วยฟื้นฟูสภาพผิวจากรอยสิว กระเนื้อและลดรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มของร่างกาย กำจัดอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุของความชราและโรคมะเร็ง ช่วยลดความอ้วน ลดเบาหวานและป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ เป็นต้น
คุณประโยชน์ของการบริโภคอาหารที่มีใยอาหารสูง
1. ใยอาหารกับโรคท้องผูก
การบริโภคอาหารที่มีใยอาหารสูงจะช่วยลดปัญหาอาการท้องผูก เพราะใย อาหารที่ไม่ละลายน้ำจะช่วยเพิ่มน้ำหนักและปริมาณกากอาหารทำให้กากอาหารนุ่ม และช่วยลดเวลาที่กากอาหารเคลื่อนที่ผ่านลำไส้ใหญ่ ส่วนใยอาหารที่ละลายน้ำ พวกเฮมิเซลลูโลสจะช่วยดูดซับน้ำในทางเดินอาหารทำให้กากอาหารนุ่มและช่วยลด เวลาที่กากอาหารเคลื่อนที่ผ่านลำไส้ใหญ่เช่นเดียวกัน
2. ใยอาหารกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
การบริโภคอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ ใหญ่โดยเฉพาะใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำเช่น รำข้าวสาลี เซลลูโลส
3. ใยอาหารกับโรคอ้วน
การบริโภคอาหาร ที่มีใยอาหารมากจะให้พลังงานน้อย อาหารที่มีใยอาหาร ต่ำโดยเฉพาะน้ำตาลมีผลต่อการกระตุ้นศูนย์ควบคุมการอิ่มได้น้อยมาก เนื่อง จาก บริโภคง่ายและรวดเร็วทำให้บริโภคได้มากใยอาหารช่วยในการลดน้ำหนักได้ เนื่องจากใยอาหารที่ละลายน้ำจะกลายเป็นเจลเพิ่มความหนืดและการเกาะตัวของสาร ในกระเพาะอาหารทำให้ผู้บริโภครู้สึกอิ่มเร็วขึ้น และอิ่มนานทำให้กระเพาะ อาหารว่างช้าลง
4. ใยอาหารกับโรคไตเรื้อรัง
ใยอาหารที่เป็นเฮมิเซลลูโลส สามารถลดระดับสารยูเรีย (BUN) และสาร ครีเอตินิน(Creatinine)ในเลือดของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้ร้อยละ 11-19 และ สามารถเพิ่มการขับถ่ายสารไนโตรเจนออกทางอุจจาระได้ร้อยละ39 ช่วยลดการ สังเคราะห์แอมโมเนียได้ถึงร้อยละ30 และจะช่วยลดอาการยูรีเมีย (uremia)ซึ่ง เป็นอาการของโรคไตวาย มีของเสียคั่งในเลือดจนเป็นพิษ จากของเสียนั้น ในผู้ ป่วยโรคไตเรื้อรังได้ นอกจากโรคที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว การบริโภคผักซึ่งมีใย อาหารสูงยังสามารถช่วยป้องกัน โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด ช่วยลดระดับคอเล สเตอรอลในเลือด และช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการย่อยและดูดซึมแลคโตสได้ดี ขึ้น นอกเหนือจากวิตามิน แร่ธาตุและใยอาหารแล้ว ในผักยังมีสารสุขภาพ อื่น ที่ให้คุณค่าแก่ร่างกายเช่น น้ำมันระเหยแอนติไบโอติกธรรมชาติ ฮอร์โมน ธาตุ สี(pigment)จำพวกคลอโรฟีล ไบโอฟลา-วินอยด์(bio-flavinoids) โดยคลอโรฟีลเพ็ก ติน(pectin)และแอนโตไซอันส์ (anthocyans) ช่วยป้องกันร่างกายจากรังสีและ สิ่งปนเปื้อนที่มากับอากาศ และชะลอความแก่ได้ เชื่อกันว่าสารเหล่านี้เป็น เหมือนยาอายุวัฒนะทำให้สุขภาพ ร่างกายโดยรวมดีขึ้น
การปลูกโมโรเฮยะเป็นผักสวนครัว
โมโรเฮยะเจริญเติบโตได้ดีในที่ร้อนและในดินร่วนปนทรายจนถึงดินร่วนเหนียว ฤดูปลูกที่เหมาะสมตั้งแต่เดือนเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม โดยหลังจากเริ่มหว่านเมล็ดภายในระยะเวลา 2 เดือนก็สามารถเก็บเกี่ยวใบไปปรุงอาหารได้ และหากใบเหลือจากการนำไปปรุงอาหารก็สามารถนำมาตากแห้งบดเก็บไว้รับประทานได้ทั้งปี
การปลูกและการดูแลรักษา
หลังจากไถดินและกำจัดวัชพืชแล้ว ให้ยกแปลงกว้าง 1.2 เมตร สูง 6-10 เซนติเมตร ยาวตามพื้นที่ ใส่ปุ๋ยกระดองปูรองพื้นก่อนปลูกอัตรา 1 กิโลกรัม/ตารางเมตร หลุมปลูกลึกประมาณ 1 นิ้ว ระยะปลูกระหว่างต้น 30-50 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 70 เซนติเมตร หยอดเมล็ดหลุมละ 5-7 เมล็ด กลบหลุมบาง ๆ ประมาณ 1-2 เซนติเมตร เมื่อเมล็ดงอกโรยยากันรา ป้องกันโรครากเน่า เมื่อมีใบจริงออกมา 5-10 ใบ ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 3 ต้น เมื่อเห็นว่าต้นมีความแข็งแรงดีแล้ว หรือเมื่อมีความสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตรให้ถอนอีกครั้งเหลือหลุมละ 1 ต้น ในช่วงที่มีใบจริง 5-6 ใบ ควรใส่ปุ ยไนโตรเจนเพื่อเร่งให้ มีการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ เมื่อมีความสูง 50-60 เซนติเมตร ให้ตัดยอดลงมาประมาณ 15- 20 เซนติเมตร เพื่อกระตุ้นให้แตกกิ่งแขนงด้าน ข้าง รวมทั้งควรกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยกระดองปู-ปุ๋ยเคมี เร่งอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้การเจริญเติบโตทาง ลำต้นและใบ
การตัดแต่งกิ่ง เนื่องจากปอชนิดนี้เป็น พืชปีเดียว การตัดแต่งกิ่งควรเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 2 เดือนไปจนถึงการปลูกรอบใหม่ จะทำให้ใบสดงอกงามและเก็บผลผลิตได้มากขึ้น การเก็บห่างกันประมาณ 2 เดือน รอบหนึ่งจะเก็บได้ 4 ครั้ง โดยเก็บใบได้ 3 วิธี คือ
1. เก็บใบสดจากลำต้น
2. ตัดกิ่งหรือลำต้นแล้วเก็บใบสด
3. ตัดกิ่งและลำต้นแล้วเก็บใบสด
สำหรับวิธีที่ง่ายที่สุดคือวิธีที่ 2 โดยเมื่อเก็บใบสด 1 กิโลกรัมนำมาตากแดดประมาณ 1-2 วัน จะได้ใบตากแห้งหนัก 200 กรัม ใบสด 7 ต้น จะได้ใบสด 1 กิโลกรัมขายได้กิโลกรัมละ 30 บาท พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 4,600 ต้น เมื่อเก็บใบสดจะได้ 657 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 19,700 บาทต่อไร่
การทำชาปอ เมื่อเก็บใบสดแล้ว นำไปล้างน้ำสะอาด 2-3 ครั้งแล้วนำมาผึ่งในตะแกรงให้แห้งพอหมาด ๆ จากนั้นนำใบปอมาวางซ้อนกันพอประมาณ หั่นใบปอให้มีขนาด 1-2 เซนติเมตร นำไปคั่วในกระทะใช้มือนวดใบปอแรงด้วยไฟอ่อน เพื่อให้เซลล์ ใบปอแตกจนใบแห้งกรอบโดยใช้เวลาประมาณ 45 นาที หากมีเครื่องอบให้อบอุณหภูมิที่ 70 องศาเซลเซียส ภายใน 1 ชั่วโมงแล้วทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นบรรจุถุงปิดผนึกจะสามารถเก็บไว้ได้นาน ข้อควรระวัง หากคั่วใบปอในกระทะให้ระวังอย่าให้ไหม้ และอย่าคั่วครั้งละมาก ๆ รวมทั้งในช่วงที่ปลูกอย่าฉีดพ่นสารเคมีโดยเด็ดขาด
ป้ายคำ : สมุนไพร