โยคะ เป็นปรัชญาแขนงหนึ่งของ ศาสนาในอินเดียที่กำลังได้รับความสนใจ เพราะวิทยาศาสตร์แบบดั้งเดิมมีแนวคิดในการแยกจิตใจออกจากกาย คือสิ่งที่ถูกสังเกตและผู้สังเกตจะแยกจากกัน ซึ่งไม่สามารถใช้อธิบายสิ่งต่างๆ ทั้งหมด แต่คัมภีร์ปรัชญาศาสนาของทางตะวันออกสามารถอธิบายสิ่งต่างๆ ได้ วิทยาศาสตร์สมัยใหม่เริ่มมีแนวคิดว่า จิตใจกับกายจะไม่แยกออกจากกัน การได้คำตอบของสิ่งต่างๆ จะมาจากการตั้งคำถามและวิธีการทดลองที่แตกต่างกัน และยังขึ้นกับจิตของมนุษย์ที่ไปกำหนด คำตอบต่างๆ มีกฎ…
โยคะ เป็นปรัชญาแขนงหนึ่งของ ศาสนาในอินเดียที่กำลังได้รับความสนใจ เพราะวิทยาศาสตร์แบบดั้งเดิมมีแนวคิดในการแยกจิตใจออกจากกาย คือสิ่งที่ถูกสังเกตและผู้สังเกตจะแยกจากกัน ซึ่งไม่สามารถใช้อธิบายสิ่งต่างๆ ทั้งหมด แต่คัมภีร์ปรัชญาศาสนาของทางตะวันออกสามารถอธิบายสิ่งต่างๆ ได้ วิทยาศาสตร์สมัยใหม่เริ่มมีแนวคิดว่า จิตใจกับกายจะไม่แยกออกจากกัน การได้คำตอบของสิ่งต่างๆ จะมาจากการตั้งคำถามและวิธีการทดลองที่แตกต่างกัน และยังขึ้นกับจิตของมนุษย์ที่ไปกำหนด คำตอบต่างๆ มีกฎตายตัวที่คอยกำหนด ไม่ใช่พระเจ้าเป็นผู้กำหนดเหมือนความเชื่อในสมัยก่อน การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติเกิดขึ้นจากภายในของตัวมันเองและมีแบบแผนที่ สัมพันธ์กัน ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องเหตุปัจจัยในพุทธศาสนา ทำให้ในปัจจุบันนี้มีการหันมาสนใจการดูแลสุขภาพแบบตะวันออกมากยิ่งขึ้น เช่น การแพทย์ของจีนมีการฝังเข็ม ของอินเดียก็คือ อายุรเวท และ โยคะ เป็นต้น
ปรัชญาโยคะ ท่านศิวานันทะได้สรุปไว้ว่า ทุกสิ่งจะมีคุณลักษณะ (Guna) 3 ประการ ได้แก่
- สัตวะ (Sattva) คือ คุณลักษณะที่บริสุทธิ์ของสิ่งต่างๆ ได้แก่ อาหารพวกธัญพืช ผลไม้สด ผักสด น้ำผลไม้สด นม เนย เมล็ดพืช น้ำผึ้ง และ การเคี้ยวอาหารให้ละเอียด สุขุม ก็ถือเป็นสัตวะด้วย
- รชัส (Rajas) คือ คุณลักษณะอาหารที่มีฤทธิ์กระตุ้น ได้แก่ อาหารพวกเครื่องเทศ ชา กาแฟ ปลา ไข่ เกลือ ช็อกโกแลต ผลไม้ที่เกือบสุก และ การกินอาหารเร็วก็ถือเป็นรชัสด้วย
- ทมัส (Tamas) คือ คุณลักษณะความเฉื่อยเนือย ได้แก่ อาหารพวกเนื้อสัตว์ แอลกอฮอล์ ยาสูบ หอม กระเทียม อาหารหมักดอง ผลไม้ที่สุกจัดกำลังจะเน่า น้ำส้มสายชู และ การกินอาหารมากเกินไป (over eating) จะทำให้มึนซึม เฉื่อยเนือยได้ จึงถือว่าเป็นทมัสด้วย
จะเห็นได้ว่าโยคะจะดูแลตั้งแต่เรื่องอาหาร คือต้องรับประทานอาหารที่บริสุทธิ์ ซึ่งสอดคล้องกับการแพทย์แผนปัจจุบันที่ว่า อาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพ คือ อาหารที่มีกากใยสูงๆ ไม่มีเนื้อสัตว์ใหญ่ เน้นที่ความสดและไม่เน้นของหมักดอง
หลักการของโยคะ มี 5 ประการ คือ
- อาหารดี (proper diet)
- ออกกำลังกายดี (proper exercise) คือ อาสนะนั่นเอง ซึ่งอาสนะ หมายถึง ท่าบริหารอย่างโยคะ ต้องทำให้เหมาะสมกับวัยและตามจริตวิสัย
- อากาศดี (proper breathing) คือ ปราณายาม หมายถึง การพัฒนาร่างกายเพื่อเอาประโยชน์จากอากาศให้ดีที่สุด คือการฝึกกระบวนการหายใจนั่นเอง
- อารมณ์ดี (positive thinking and meditation) ซึ่งเป็นเรื่องทางจิตใจ เพราะโยคะเป็นปรัชญาทางศาสนาอย่างหนึ่ง
- รู้วิธีผ่อนคลาย (proper relaxation) เป็นส่วนหนึ่งของอาสนะ แต่เป็นการเน้นท่าที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษ เช่น ท่าศพ เป็นท่าที่สำคัญเพราะปัจจุบันผู้คนมีความเครียดกันมาก ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการสร้างภูมิต้านทานในร่างกายด้วย แต่ถ้ารู้วิธีผ่อนคลายก็จะช่วยฟื้นฟูระบบเหล่านี้ขึ้นมาได้
โยคะเป็นการบริหารที่นอกจากจะบริหารร่างกายแล้วยังมีการบริหารลม หายใจอีกด้วย ผู้ที่ฝึกปฏิบัติโยคะจะมีความแข็งแรงแต่ไม่ใช่แข็งแกร่ง กล่าวคือ แข็งแรงไม่เจ็บไข้ได้ป่วยแต่ไม่ได้มีกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นจนบึกบึน นอกจากนี้โยคะยังสามารถใช้บำบัดโรคที่เกี่ยวกับโครงสร้างทั่วๆไปได้ เช่น ปวดหลัง ปวดเอว และ ยังช่วยดูแลเรื่องโครงสร้างที่ผิดปกติได้ แต่ต้องไม่ใช่โรคที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด โดยต้องเน้นที่การปฏิบัติเอง ไม่ได้มีผู้อื่นช่วยทำให้เหมือนกับการกายภาพบำบัด ตามแนวคิดของอาจารย์โยคะนั้น โรคต่างๆเกิดขึ้นจากพลังงานที่มีอยู่ในธรรมชาติในจักรวาลเข้ามาสู่ตัวเราไหล เวียนได้ไม่ดี เมื่อโรคเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงอวัยวะนั้นไม่ดี ถ้าเราใช้ท่าบริหารให้เลือดไหลไปสู่บริเวณนั้นได้ดีก็จะสามารถรักษาโรคได้
มีการกล่าวว่าโยคะ คือ การเชื่อมโยงผูกพันในแง่ของการเชื่อมโยงชีวิตเล็กๆของเราเข้ากับชีวิตใหญ่ใน ธรรมชาติ คือ เชื่อมชีวาตมัน (อัตตาเล็กๆของเรา) เข้ากับอัตตาใหญ่ คือปรมาตมัน (พระผู้เป็นเจ้า) จึงเกิดแนวทางการดำเนินชีวิตที่มุ่งพัฒนาตัวของตนเข้าสู่ชีวิตที่ประเสริฐ
อัษฎางค์โยคะ หรือ ราชาโยคะ
- ยม (Yama) หลักการอยู่ร่วมกับผู้อื่น (หมายรวมถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย) ได้อย่างสันติ มีอยู่ 5 ประการอหิงสา การไม่ทำร้ายชีวิต การไม่เบียดเบียน การแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง สัตย์ การรักษาสัตย์ ไม่โกหก อัสเตยะ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ละโมบ ไม่ตกเป็นเหยื่อของความโลภพรหมจรรย์ การประพฤติตนไปบนหนทางแห่งพรหม (พรหม จรรยา)อปริครหะ คือการไม่ถือครองวัตถุเกินความจำเป็น
- นิยม (Niyama) คือ วินัยต่อตนเอง มีอยู่ 5 ประการ เช่นกัน เศาจะ หมั่นรักษาความสะอาดบริสุทธิ์ ทั้งกาย ใจสันโดษ ฝึกพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ ตบะ มีความอดทน อดกลั้น สวารยายะ หมั่นศึกษา เรียนรู้ ทั้งเรียนรู้เกี่ยวกับโยคะ และ เรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง อศวรปณิธาน ฝึกเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน มีความศรัทธาในโยคะ ที่เรากำลังฝึกปฏิบัติ
- อาสนะ (Asna) คือ การบริหารร่างกายเพื่อให้เป็นวิหารที่เหมาะสมของวิญญาณศักดิ์สิทธิ์จากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเป็นการเลียนแบบรูปกายของสิ่งต่างๆ
- ปราณายาม (Pranayama) คือ พลังแห่งจักรวาล เป็นการควบคุมกระบวนการหายใจให้ยาวขึ้นละเมียดละไมขึ้น เพื่อความสงบเย็นของระบบประสาท ความรู้สึกและอารมณ์ ประกอบด้วย ปูรกะ คือ การหายใจเข้า, เรชกะ คือ การหายใจออก, กุมภกะ คือ การกลั้นหายใจ ซึ่งต้องทำในสัดส่วนต่างๆ กัน
- ปรัตยาหาร (Pratyahara) คือ การควบคุมความรู้สึกนึกคิดให้สงบไม่แล่นส่ายไปกับอารมณ์ภายนอก
- ธารณา (Dharana) คือ สมาธิ ได้แก่ การกำหนดจิตให้ตั้งมั่นในสิ่งใดๆ อย่างเดียวโดยสิ้นเชิง
- ธยาน (Dhyana) คือ การเพ่งที่คุณลักษณะไม่ใช่ที่วัตถุ เพ่งจิตต่อพระผู้เป็นเจ้า
- สมาธิ (Samadhi) คือ สภาวะที่สู่จุดหมายสูงสุดที่บรรลุ ไม่มีการแบ่งแยกแตกต่างเป็นหนึ่งเดียวกัน
- ยม, นิยม, อาสนะ จัดเป็น โยคะภายนอก
- ปรัตยาหาร, ธารณา, ธยาน, สมาธิ จัดเป็น โยคะภายใน
- ปราณายาม คือ ลมหายใจ จะเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างโยคะภายนอกกับภายใน
เมื่อพิจารณาทั้ง 8 ขั้นตอนแล้ว จึงถือได้ว่าโยคะเป็นองค์รวม กล่าวคือ เป็นหลักการในการดำเนินชีวิตทำให้ชีวิตเข้าสู่ความสมบูรณ์ แต่ในแง่การบริหารทั่วๆ ไปของโยคะเหมาะกับทุกวัยไม่ว่าเด็กหรือคนชรา ซึ่งการฝึกโยคะจะต้องเริ่มจากท่าพื้นฐานก่อนโดยมีภาพประกอบ แนวคิดโยคะให้ผลดีกับร่างกาย คือ พลังงานในจักรวาลเป็นปราณใหญ่ เข้ามาสู่ในร่างกายเป็นลมปราณ ผ่านทางท่อที่มีอยู่ที่ไม่ใช่กายเนื้อ กล่าวคือ พลังงานไหลเวียนผ่านท่อได้สะดวก ซึ่งสิ่งที่จะต้องฝึก คือ อาสนะ จะทำให้ท่อต่างๆอยู่ในสภาพดี และ ปราณายาม คือ การขับพลังเหล่านี้ให้มันเคลื่อนที่ได้
ในการขับพลังเข้ามาผ่านทางท่อนาทีมีทั้งพลังร้อน (ปิงคลา คือ ทางรูจมูกขวา) กับ พลังเย็น (อิทา คือ ทางรูจมูกซ้าย) แล้วโคจรเข้าไปในร่างกายโดยมีสุศุมนาเป็นท่อหลัก ตรงจุดที่ อิทา ปิงคลา และ สุศุมนา ไขว้กันคือจักระ ซึ่งก็คือแหล่งพลังงาน (รายละเอียดจักระอยู่ใน เรื่อง พลังกายทิพย์) โยคีปฏิบัติอาสนะเพื่อให้ท่อหรือนาทีแข็งแรงอยู่ในสภาพที่ดี และ ฝึกปราณายามเพื่อขับเคลื่อนพลังงานจักรวาลให้มาฝังตัวในร่างกาย
ท่าบริหารร่างกายแบบโยคะ แบ่งเป็น 7 กลุ่ม คือ
- กลุ่มท่ายืน เป็นการบริหารส่วนล่างของร่างกาย เช่น ต้นขา น่อง เข่า ข้อเท้า ได้แก่ ท่าสามเหลี่ยม ท่าหน้าจั่ว
- กลุ่มท่านั่ง เป็นการบริหารอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ซึ่งเป็นพื้นฐานในการฝึกปราณายาม เช่น ท่าฤๅษี, ท่านักรบ, ท่าผีเสื้อ ทำให้เลือดไหลเวียนดีในอุ้งเชิงกราน ซึ่งช่วยสุขภาพของสตรีไม่ให้ปวดท้องตอนมีประจำเดือน
- กลุ่มท่าโค้งตัวไปด้านหน้า ลำตัวเป็นที่อยู่ของช่องทางเดินพลังหลัก ท่านี้เป็นการทำให้กระดูกสันหลังโค้งตัวไปด้านหน้าและด้านหลัง เช่น ท่างู เป็นการยกกระดูกสันหลังส่วนบนขึ้น ท่าตั๊กแตนเป็นการยกกระดูกสันหลังส่วนล่าง ท่าธนูเป็นการยกทั้ง 2 ส่วน
- กลุ่มท่าโค้งตัวไปด้านหลัง เช่น ท่าสุนัขหอน ท่าอูฐ
- กลุ่มท่าบิดลำตัว ทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อนไหวทุกทิศทาง ช่วยไม่ให้ปวดหลังหรือกระดูกทับเส้น
- กลุ่มท่ากลับศีรษะลง จะช่วยกระตุ้นการทำงานของต่อมไร้ท่อ เช่น ท่าศีรษะอาสนะ ท่ายืนด้วยไหล่ จะกระตุ้นต่อมไทรอยด์และพาราไทรอยด์ นอกจากนี้ยังมีท่าคันไถและท่าสุนัขบิด-ขี้เกียจ
- ท่าพัก เช่น ท่าศพ ตัวท่าไม่สำคัญแต่การปฏิบัติให้ผ่อนคลายจะยาก ซึ่งเป็นท่าที่ต้องฝึกเป็นหลัก
ประโยชน์ของการฝึกโยคะ
เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ปรับระดับความดันเลือดให้เป็นปกติ บำบัดโรคที่เกี่ยวกับเลือดไม่ดี โรคภูมิแพ้ ลมหมักหมม ผิวพรรณที่ไม่ผ่องใส สมองไม่ปลอดโปร่ง มึนศีรษะง่าย
ด้านกายภาพบำบัด
- กล้ามเนื้อ ข้อต่อ และเอ็น มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้การเดินคล่องขึ้น การทรงตัวดีขึ้น
- กระดูกสันหลังถูกปรับให้เข้าสภาพปกติ ป้องกันอาการปวดหลัง ปวดต้นคอ หรือ ปวดศีรษะ และปรับรูปร่างให้สมดุล กระดูกไม่งอ ไหล่ไม่เอียง
- ท่าบริหารโยคะบางท่าถูกดัดแปลงใช้กับคนชรา และคนพิการเพื่อสามารถฝึกบนเตียง หรือบนรถเข็นได้
- กระตุ้นสมองให้มีความจำดีขึ้น
- การผ่อนคลายลึก ๆ หลังการฝึก ทำให้เกิดคลื่นอัลฟา มีผลต่อการผ่อนคลายต่อสมอง
- คลายความเครียด แก้โรคนอนไม่หลับ
นวดอวัยวะภายในให้แข็งแรงขึ้น เช่น หัวใจ มดลูก กระเพาะอาหาร ตับ ไต เป็นต้น ทำให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น เลือดไปที่ไตล้างไตให้สะอาดขึ้น ระบบการหายใจจะโล่งขึ้น ทำให้การเผาผลาญแคลอรีในร่างกายเพิ่มขึ้น ได้พลังงานเสริมความแข็งแรง
ใบหน้าดูอ่อนเยาว์
- ร่างกายมีสัดส่วนดีขึ้น สวยงามขึ้น
- ช่วยควบคุมน้ำหนักได้อย่างดี
ด้านจิตบำบัด
- จิตสงบและมีสมาธิมากขึ้น
- ลดความวิตกกังวลและอาการที่ตื่นกลัว
- นักกีฬา นักเต้นรำ นักแสดง อาจใช้โยคะเพื่อกำจัดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ และเพิ่มสมาธิก่อนการแข็งขัน ก่อนการแสดง
- นายแพทย์ ดีน ออร์นิช ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจจากแคลิฟอร์เนีย ได้ผสมผสานโยคะแบบใหม่ในการรักษาผู้ป่วย โรคหัวใจ
- โครงการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็ง และศูนย์วิจัยในแคลิฟอร์เนีย สอนโยคะให้ผู้ป่วยในระยะสุดท้าย เพื่อให้รู้สึกสงบ
- เพศสัมพันธ์บกพร่อง สามารถบรรเทา หรือแก้ไขได้ด้วยท่าโยคะหลาย ๆ ท่า