โรงสีข้าวชุมชนพึ่งพาตนเอง

2 ธันวาคม 2557 ภูมิปัญญา 0

การสีข้าว (rice milling) เป็นขั้นตอนการแปรรูปเบื้องต้นของข้าวเปลือกให้ได้เป็นข้าวสาร หรือ ข้าวกล้อง ที่เหมาะสมกับการนำไปรับประทานหรือแปรรูปข้าวเปลือกที่จะนำมาสี ต้องผ่านการลดความชื้นมาก่อน ให้มีความชื้น 13-15 เปอร์เซ็นต์

ข้าวเปลือกจะถูกกะเทาะเปลือกด้วยเครื่องกะเทาะ ซึ่งใช้ลักษณะของเปลือกที่ห่อหุ้มเมล็ดข้าวเป็นหลักในการออกแบบ เครื่องกะเทาะที่นิยมใช้คือ แบบโม่หิน (Under Runner Disc) และแบบลูกยาง (Rubber Rolls)
เครื่องกะเทาะแบบโม่หิน จะกะเทาะเปลือกโดยใช้ลักษณะที่ปลายเมล็ดข้าวทั้งสองด้านมีช่องว่างระหว่างเมล็ดและเปลือก และลักษณะการขบกันของเปลือก ในระหว่างการกะเทาะเมล็ดข้าวเปลือกจะถูกกดที่ปลายทั้งสองด้าน ทำให้เปลือกที่ขบกันอยู่แตกออกจากกันและทำให้เมล็ดข้าวกล้องหลุดจากเปลือก การกะเทาะลักษณะนี้จะมีต้นอ่อนและจมูกข้าว (ส่วนปลายของเมล็ดที่ติดกับต้นอ่อน) ที่แตกหักระหว่างการกะเทาะหลุดติดมากับเปลือกด้วย ส่วนการกะเทาะด้วยลูกยางกะเทาะจะใช้ลักษณะการขบตัวของเปลือกเป็นหลักโดยมี ลูกยาง 2 ลูกหมุนด้วยความเร็วไม่เท่ากัน ทำหน้าที่ฉีกเปลือกของเมล็ดออก การกะเทาะในลักษณะนี้จึงไม่มีจมูกข้าวและต้นอ่อนมากับเปลือก
ข้าวกล้องเมื่อผ่านการกะเทาะและแยกเปลือกออกแล้ว จะถูกนำมาขัดขาวซึ่งเป็นการขัดเอาชั้นรำที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 5 ชั้น ออกให้เหลือแต่ชั้นแป้ง เพื่อใช้สำหรับบริโภค ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียคุณค่าทางอาหารไป

rongseekaws

หากชุมชนรวมตัวกัน แล้วพึ่งพาตนเองได้ ก็สามารถแก้ปัญหาได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจชุมชน พ่อค้าคนกลาง หนี้สิน และปัญหาอื่นๆ โดยการรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่ม ระดมทุน เป็นหุ้นอาจเป็นหุ้นละ 100 บาท หลายๆคน คนละ 10 หุ้น 500 คน ก็ได้ 5 แสนบาท ก็พอที่จะไปสร้าง โรงสีข้าวชุมชนได้รวมกลุ่มร่วมใจกัน ระดมทุน สร้างโรงสีชุมชนพึ่งพาตนเอง ตัดพ่อค้าคนกลาง บริหารจัดการโรงสีข้าว มีการจัดแบ่งออกเป็นฝ่ายๆ ประสานงาน กรรมการ ตรวจสอบ การเงิน ขายข้าว ปลายข้าว รำข้าว ทำให้มีการผลิตและการขาย ดูว่ามีกำไร ก็เอามาปันผลค่าหุ้นกัน มาผลิตข้าวนาปี ปลอดสารพิษ ส่งขายภายในหมู่บ้าน ภาครัฐเห็นก็เข้ามาช่วยสนับสนุน แต่ละชุมชนต้องมาร่วมมือกัน ร่วมคิด ร่วมใจ ร่วมมือ งานจึงจะสำเร็จ ตัดพ่อค้าคนกลาง ลดการเอาเปรียบที่ไม่ค่อยรับซื้อแทนที่ชุมชนจะขายข้าวเปลือก ก็มาขายข้าวสารแทน ทำการผลิตข้าวเอง ทำไมจึงตั้งราคาขายไม่ได้ ต้องแก้ไข ต้องทำได้ โดยการขายข้าวสาร

ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส

จงมาช่วยกันทำให้ชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างยั่งยืน มาเริ่มทำธุรกิจ ลงทุนก่อน ขอกู้จากธนาคารชุมชน SML ก็ได้ กู้มาสัก 5 แสนบาท ซื้อโรงสีมือสองก็ได้ ราคาจะได้ถูกลง

rongseenampong

กระบวนการทำธุรกิจและบริหารจัดการมี การตั้งโรงงาน โรงสี การสร้างฉางข้าว ลานตากข้าว ตราชั่ง รถคราดข้าว และ การบริหารการเงิน ทั้งเงินทุน เงินหมุนเวียน การตั้งราคารับซื้อ การเก็บเงิน การทำบัญชี การปันผลกำไร

มองเห็นปัญหาร่วมกัน ตัดสินใจร่วมกัน

การจำหน่ายข้าว ขายชุมชนด้วยกันเองก่อน แล้วขายภายในจังหวัด หากเหลือก็ส่งขายไปยังจังหวัดอื่นๆ
ความยั่งยืน อยู่ที่การพึ่งพาซึ่งกันและกัน กินข้าวตัวเอง ไม่ต้องซื้อข้าวจากที่ไหน มีเหลือจึงขายตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เชื่อมโยงบูรณาการกับภาครัฐ นอกจากนี้ก็มีการจัดอบรม ด้านการจัดการและการรวมตัวกัน เพื่อโรงสีชุมชน เป็นการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ ชุมชนพึ่งพาตนเอง

rongsee

ประสิทธิภาพการสีข้าว
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการสีข้าวมีดังนี้

  • อัตราการสีข้าว หรืออัตราการแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร เป็นสวนหนึ่งที่ใช้ในการวัดหาประสิทธิภาพของโรงสีได้ ทั้งนี้เนื่องจากอัตราการสีข้าว นอกจากจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของข้าวเปลือก สภาพบรรยากาศแวดล้อม และความชื้นของเมล็ดแล้ว ยังขึ้นอยู่กับสภาพเครื่องสีข้าวด้วย ผลิตผลที่ได้จากการสีข้าวเปลือก ปกติจะจัดแบ่งเป็นต้นข้าว ปลายข้าวท่อน (เอวัน) ปลายข้าวเล็ก (ซี) รำละเอียด และรำหยาบ การสีข้าวในประเทศไย อัตราการสีข้าวเปลือกคุณภาพดีจากโรงสีข้าวส่วนใหญ่ จำนวน 1,000 กก. เป็นข้าวสารชนิด 5 % จะได้ต้นข้าวและปลายข้าวรวมกันประมาณ 660 กิโลกรัม
    โรงสีระบบทันสมัย นิยมใช้กันมากในประเทศญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกาที่สีข้าวเปลือกทั้งเมล็ดสั้นและ เมล็ดยาว ประเทศไทยเริ่มมีโรงสีข้าวแบบทันสมัยมาประมาณ 10 15 ปีมาแล้ว ระบบการทำงานก็คล้ายกับระบบเก่า แตกต่างกันที่ต้นกำลังและรายละเอียดของเครื่องจักรแต่ละเครื่องที่ทำงานไม่ เหมือนกัน
  • คุณภาพของข้าวเปลือกที่นำมาสี อันได้แก่ พันธุ์ข้าว ความแข็งแกร่งของเมล็ด ความชื้น เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้อัตราการสีข้าวแตกต่างกันไป
  • ขนาดของโรงสีและสภาพของเครื่องสี มีผลต่ออัตราการสีข้าวน้อยกว่าคุณภาพข้าวเปลือก โดยโรงสีขนาดใหญ่จะมีแนวโน้มจะสีได้ต้นข้าวมากกว่าโรงสีขนาดเล็ก แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพของเครื่องจักร การควบคุมดูแลและการปรับสภาพเครื่องจักรให้เหมาะสมกับสภาพข้าวเปลือกที่จะนำมาสี
  • มาตรฐานของข้าวที่ต้องการ คือ คุณภาพของข้าวสารที่สีออกมา อาทิ ความขาวที่ต้องการ ชนิดของข้าวสาร 5% 10% หรือ 15 % เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้อัตราการสีข้าวของโรงสีเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากต้องทำการขัดสี มากน้อยต่างกันออกไป
  • ปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ สภาพแวดล้อมของการสี อาทิ อุณหภูมิของอากาศ ถ้าทำการสีในตอนบ่ายซึ่งมีอุณหภูมิของอากาศสูงกว่าตอนเช้า จะได้ต้นข้าวในอัตราต่ำกว่าการสีในตอนเช้า

คุณภาพข้าวเปลือกกับคุณภาพ
ข้าวเปลือกที่โรงสีรับซื้อจากเกษตรกรในท้องถิ่น ส่วนใหญ่จะมีคุณภาพไม่ค่อยดีนัก บางครั้งอาจจะมีสิ่งเจือปนมากับข้าวมากเกินไป หรือมีความชื้นสูงเกินไป ทำให้เมื่อนำไปสีเป็นข้าวสารจะได้รับเนื้อข้าวค่อนข้างน้อย นอกจากนั้นยังมีการแตกหักค่อนข้างสูงมาก เนื่องจากการที่ข้าวมีการแตกร้าวภายในอยู่แล้ว ซึ่งอาจจะเกิดจากกรรมวิธีในการนวดและการเก็บรักษา

rongseekawpleag

คุณภาพของข้าวเปลือก (Quality aspects of paddy)
ในการรับซื้อข้าวเปลือก จะต้องคำนึงถึงคุณภาพของข้าวเปลือกที่จะมีผลต่อการสีข้าว ซึ่งประกอบด้วย

  • ความชื้น
  • ปริมาณสิ่งเจือปน
  • ปริมาณการแตกร้าวภายใน
  • ปริมาณเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์
  • ปริมาณเมล็ดที่เสื่อมคุณภาพ
  • ปริมาณข้าวแดง
  • ความบริสุทธิ์ของพันธุ์ข้าว

การแตกร้าวของข้าวเปลือก
จากการสีข้าวเปลือกที่แห้งมีความชื้นประมาณ 14 เปอร์เซ็นต์ โดยข้าวไม่มีการแตกร้าวและเมล็ดมีความสมบูรณ์เต็มที่ พบว่าจะได้เปลือกหรือแกลบประมาณ 23 เปอร์เซ็นต์ ได้ข้าวกล้องประมาณ 77 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำข้าวกล้องไปขัดขาวจะได้รำประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ และได้ข้าวสารรวมปลายเล็กประมาณ 69 เปอร์เซ็นต์ แต่หลังจากผ่านตะแกรงแล้วจะได้รับเนื้อข้าวสารทั้งสิ้นจำนวน 68 เปอร์เซ็นต์ เนื้อข้าวสารที่ได้จะถูกนำไปแยกออกเป็นต้นข้าวและปลายข้าวขนาดต่างๆแต่ถ้าข้าวมีการแตกร้าวก่อนการสีจะทำให้เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวที่ได้มีปริมาณลดลง
ในการขัดข้าวกล้องให้เป็นข้าวขาว นอกจากลูกหินจะขัดเอารำและเยื่อเจริญออกจากเมล็ดข้าวแล้ว ยังจะขัดเอาฝุ่นแป้ง และเนื้อข้าวที่แตกจากรอยร้าวออกมารวมกับรำทำให้ได้จำนวนรำมากขึ้น ซึ่งเกิดจากการมีพื้นที่ผิวในการขัดมากขึ้น จากการแตกของเมล็ดข้าว หินขัดจะขัดลบมุมของข้าวที่หักจนกลม ดังนั้น ยิ่งมีการแตกหักในการสีมากก็ยิ่งจะทำให้มีรำและปลายข้าวเล็กๆเพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นผลทำให้เนื้อข้าวที่ควรจะได้รับลดปริมาณลง เจ้าของโรงสีเกือบทั้งหมด มีความต้องการสีข้าวมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อเพิ่มรายได้ แต่การแตกหักจากการกะเทาะ การขัดขาวและการขนถ่ายลำเลียง ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ข้าว ข้าวที่ปลูกในเอเชียและ แอฟริกาโดยทั่วไปจะเกิดการแตกหักในกระบวนการสีประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ถ้าข้าวมีการแตกร้าวอยู่แล้ว ก็จะเพิ่มเปอร์เซ็นต์การแตกหักมากขึ้น เช่น ถ้าข้าวเปลือกมีการแตกร้าวภายในอยู่แล้ว ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ก่อนการสีเมื่อนำมาผ่านกระบวนการสีจะทำให้มีการแตกหักจากการสี รวม 35 เปอร์เซ็นต์ (20 บวก 15)ในการสีข้าวเปลือกโดยทั่วไปจะได้แกลบจากการสีประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักข้าวเปลือก แต่บางครั้งอาจจะสูงถึง 22 23 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าว ปริมาณแกลบที่ลดลง ในบางครั้งมีสาเหตุจากเมล็ดข้าวมีขนาดความหนามากจึงทำให้น้ำหนักแกลบที่ควรจะได้ลดลง

rongseechum

เทคนิคการตรวจสอบคุณภาพข้าวเปลือก
เนื่องจากข้าวเปลือกที่ผลิตในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ และมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ในการซื้อขายข้าวเปลือกจึงมีการแบ่งชั้นข้าวเปลือก และเนื่องจากผู้ซื้อข้าวเปลือกส่วนใหญ่จะนำไปสีเป็นข้าวสาร ดังนั้น ชั้นข้าวเปลือกจึงมีความสัมพันธ์กับมาตรฐานข้าวสาร ซึ่งเน้นในเรื่องความยาวของเมล็ด และสัดส่วนของข้าวหักชนิดต่าง ๆ การแบ่งชั้นข้าวเปลือกจึงเน้นในเรื่องนี้ด้วย โดยนำข้าวเปลือกที่จะซื้อไปสีออกมาเป็นข้าวสารจะได้ข้าวสารชนิดใด จากนั้น จึงนำผลที่ได้จากการตรวจสอบไปตีราคาซื้อขายข้าวเปลือก การตรวจสอบคุณภาพข้าวเปลือกประกอบด้วยกระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ

  • การเก็บตัวอย่างข้าวเปลือก
  • ตรวจสอบคุณภาพข้าวเปลือก
  • การตรวจสอบอัตราการกะเทาะ

การเก็บตัวอย่างข้าวเปลือก วิธีการเก็บตัวอย่างมักจะแตกต่างกันออกไปตามสถานที่เก็บตัวอย่างข้าวเปลือก หรือวิธีการขนส่ง ได้แก่

  • การเก็บตัวอย่างข้าวเปลือกในยุ้งฉาง จะเก็บตัวอย่างโดยใช้มือหรือกระด้งฝัดข้าวจากริมกองเข้าไปหากลางกอง โดยทำไปเรื่อยๆ จนรอบกองข้าว หรือใช้หลาวสุ่มที่สามารถแทงลงไปเก็บตัวอย่างข้าวภายใต้กองข้าวได้
  • การเก็บตัวอย่างข้าวเปลือกที่บรรจุในกระสอบ เครื่องมือที่ใช้ คือ ฉ่ำแทงข้าว และกระด้งฝัด โดยใช้ฉ่ำแทงข้าวทุกๆกระสอบเพื่อเก็บตัวอย่างข้าวใส่กระด้งฝัดข้าว การใช้ฉ่ำแทงข้าวทั้งปากกระสอบ กลางกระสอบ และก้นกระสอบสลับกันไป
  • การเก็บตัวอย่างข้าวเปลือกที่บรรจุในรถบรรทุกหรือเรือกระแซง จะใช้หลาวสุ่มที่มีความยาวมาก ๆ ทั้งหลาวสุ่มมือถือ หรือ สว่านสุ่มข้าว แทงลงไปภายในกองข้าวลึก ๆ ทุกระดับความลึกและหลายจุด แล้วนำมาผสมกันก่อนทำการตรวจสอบ หรือไม่มีหลาวสุ่มก็จะเก็บตัวอย่างข้าวส่วนบนไปตรวจสอบก่อนแล้วจึงตกลงราคา กัน จากนั้นขณะขนถ่ายข้าวลงก็จะทำการสุ่มข้าวที่อยู่ลึก ๆ มาทำการตรวจสอบใหม่อีกครั้งเพื่อนำไปเปรียบเทียบกับตัวอย่างที่สุ่มครั้งแรก หากคุณภาพข้าวที่ได้ไม่เหมือนกันก็จะมีการตกลงราคากันใหม่

การตรวจสอบคุณภาพข้าวเปลือก โดยทำการพิจารณาตรวจสอบ ความชื้น สิ่งเจือปน ข้าวเสื่อมคุณภาพและข้าวเป็นโรค โดยมีวิธีการ ดังนี้

  • การเก็บตัวอย่างข้าวเปลือกในยุ้งฉาง จะเก็บตัวอย่างโดยใช้มือหรือกระด้งฝัดข้าวจากริมกองเข้าไปหากลางกอง โดยทำไปเรื่อยๆ จนรอบกองข้าว หรือใช้หลาวสุ่มที่สามารถแทงลงไปเก็บตัวอย่างข้าวภายใต้กองข้าวได้
  • การเก็บตัวอย่างข้าวเปลือกที่บรรจุในกระสอบ เครื่องมือที่ใช้ คือ ฉ่ำแทงข้าว และกระด้งฝัด โดยใช้ฉ่ำแทงข้าวทุกๆกระสอบเพื่อเก็บตัวอย่างข้าวใส่กระด้งฝัดข้าว การใช้ฉ่ำแทงข้าวทั้งปากกระสอบ กลางกระสอบ และก้นกระสอบสลับกันไป
  • การเก็บตัวอย่างข้าวเปลือกที่บรรจุในรถบรรทุกหรือเรือกระแซง จะใช้หลาวสุ่มที่มีความยาวมาก ๆ ทั้งหลาวสุ่มมือถือ หรือ สว่านสุ่มข้าว แทงลงไปภายในกองข้าวลึก ๆ ทุกระดับความลึกและหลายจุด แล้วนำมาผสมกันก่อนทำการตรวจสอบ หรือไม่มีหลาวสุ่มก็จะเก็บตัวอย่างข้าวส่วนบนไปตรวจสอบก่อนแล้วจึงตกลงราคา กัน จากนั้นขณะขนถ่ายข้าวลงก็จะทำการสุ่มข้าวที่อยู่ลึก ๆ มาทำการตรวจสอบใหม่อีกครั้งเพื่อนำไปเปรียบเทียบกับตัวอย่างที่สุ่มครั้งแรก หากคุณภาพข้าวที่ได้ไม่เหมือนกันก็จะมีการตกลงราคากันใหม่

การตรวจสอบคุณภาพข้าวเปลือก โดยทำการพิจารณาตรวจสอบ ความชื้น สิ่งเจือปน ข้าวเสื่อมคุณภาพและข้าวเป็นโรค โดยมีวิธีการ ดังนี้

  • การตรวจสอบความชื้น ความชื้นมีผลต่อน้ำหนักของข้าวเปลือก และคุณภาพการสีข้าวเปลือกที่มีความชื้นสูงเมื่อนำไปสีจะแตกหักได้ง่าย ซึ่งโดยทั่วไปความชื้นข้าวเปลือกที่เหมาะสมจะมีค่าระหว่าง 14 15 เปอร์เซ็นต์ ถ้าข้าวเปลือกมีความชื้นเกินปริมาณดังกล่าว ก็จะถูกตัดราคาหรือตัดน้ำหนักข้าว เพราะผู้ซื้อจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลดความชื้นข้าวเปลือกที่ซื้อ ให้อยู่ในระดับความเหมาะสมกับการสีหรือการเก็บรักษา การวัดความชื้นโดยทั่วไปโรงสีจะมีเครื่องวัดความชื้น เพื่อตรวจสอบความชื้นข้าวเปลือกแต่ถ้าไม่มี ผู้ซื้อก็จะใช้วิธีการประมาณความชื้นโดยการบีบหรืออัดเมล็ดข้าวหรือดูจากการบดข้าว
  • การตรวจสอบสิ่งเจือปน สิ่งเจือปนที่ติดมากับข้าวเปลือกอาจจะทำอันตรายต่อเครื่องจักรได้ ถ้ามีสิ่งเจือปนอยู่มากโรงสีจะไม่รับซื้อ แต่ถ้ามีสิ่งเจือปนอยู่บ้างแต่ไม่มากโรงสีจะใช้วิธีหักน้ำหนักของสิ่งเจือปนจากน้ำหนักของข้าวเปลือกที่ชั่งได้ การตัดน้ำหนักสิ่งเจือปนอาจทำได้โดยการประมาณด้วยตาหรืออาจนำตัวอย่างมาเทลงบนพื้นที่สะอาดผสมคลุกเคล้าแล้วตักข้าวเปลือกมาชั่งน้ำหนัก แล้วใส่กระด้งฝัดหรือตะแกรงร่อน เพื่อแยกเอาสิ่งเจือปนออจากข้าวเปลือกให้หมด จากนั้น นำข้าวเปลือกที่ได้ไปชั่งน้ำหนักอีกครั้งหนึ่ง และนำตัวเลขมาคำนวณหาน้ำหนักของสิ่งเจือปน
  • การตรวจสอบข้าวเสื่อมคุณภาพ ข้าวที่เสื่อมคุณภาพมักเกิดจากการเก็บไว้นานเกินไป หรือเก็บไว้อย่างไม่เหมาะสม เมื่อนำไปสีจะได้ข้าวหักสูงและเมล็ดข้าวจะมีสีเหลือง ซึ่งการค้าข้าวเรียกว่า ข้าวฟันหนู ข้าวเปลือกที่เสื่อมคุณภาพจะถูกตัดราคา การตรวจสอบทำได้โดยการดูด้วยตา หรือบดข้าว แล้วประเมินปริมาณข้าวเสื่อมราคา
  • การตรวจสอบข้าวเป็นโรค เมล็ดข้าวเปลือกที่ไม่สมบูรณ์หรือมีอาการผิดปกติเนื่องจากถูกทำลายโดยแมลง และเชื้อรา ทำให้เมล็ดลีบ หรือมีสีคล้ำ เมื่อนำไปสีจะได้ข้าวสารที่มีเมล็ดผอมบาง ขัดไม่มัน มีน้ำหนักเบาและแตกหักง่าย พ่อค้าจะตัดราคาข้าวเปลือก หากตรวจพบเมล็ดที่เป็นโรคหรือได้รับความเสียหายอาจไม่รับซื้อเลย การตรวจสอบทำได้โดยการดูด้วยตาหรือการบดข้าว

rongseekaes

การตรวจสอบอัตราการกะเทาะหลังจากตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นแล้วก็จะทำการตรวจสอบอัตราการกะเทาะ เพื่อดูปริมาณข้าวหัก พื้นข้าว และความยาวเมล็ดข้าวสารเพื่อนำไปแบ่งชั้นข้าว การตรวจสอบทำได้หลายรูปแบบ คือ การบดข้าวบนกระดานบดและการใช้เครื่องตรวจสอบ การบดข้าว ทำได้โดยนำตัวอย่างข้าวเปลือกเทลงบนกระดานบดข้าว แล้วใช้ไม้บดข้าวตรงส่วนที่เป็นปลายเล็ก เกลี่ยข้าวเปลือกให้กระจายเต็มกระดานบด จากนั้นใช้มือที่ถนัดจับไม่บดตรงส่วนที่เป็นปลายใหญ่เพื่อกันไม่ให้หลุดจากมือ แล้วจึงใช้อีกมือหนึ่งจับไม้บดข้าวตรงส่วนที่เป็นปลายเล็ก ดันไม้บดข้าวให้หมุนไปรอบ ๆ ให้ทั่วกระดานบดข้าว โดยไม่ยกไม้บดออกจากกระดานบดข้าวเลย การบดจะทำไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งข้าวเปลือกแตกออกเกือบหมด (ร้อยละ 80 ขึ้นไป) การบดข้าวเปลือกออกแรงบดน้อยเกินไป เมล็ดข้าวเปลือกจะไม่กะเทาะ แต่ถ้าออกแรงมากเกินไปข้าวก็จะแตกหักหมด ไม่ว่าจะเป็นข้าวเปลือกชั้นดีเพียงใด หลังจากบดข้าวเปลือกแล้ว ก็จะใช้แปรงกวาดข้าวเปลือกจากระดานบดลงไปบนกระด้งฝัดข้าว แล้วทำการฝัดข้าวเพื่อแยกเอาเปลือก (แกลบ) ออกจนหมด แล้วเขย่าข้าวบนกระด้งฝัดที่วางเอียงกับแนวราบเบา ๆ เพื่อให้ข้าวบนกระด้งที่มีน้ำหนักแตกต่างกันแยกออกจากกัน แล้วจึงนำต้นข้าวและปลายข้าวไปพิจารณาว่าข้าวเปลือกควรอยู่ในชั้นใด โดยพิจารณาจากความยาว รูปร่าง และนำไปชั่งน้ำหนักเพื่อคำนวณหาอัตราการกะเทาะหรือเปอร์เซ็นต์การแตกหัก

การตรวจสอบโดยใช้เครื่องบด สามารถทำได้หลายแบบ ทั้งที่ใช้ลูกหินบดและลูกยางบดเมล็ดข้าวเปลือก จากนั้นจึงนำข้าวที่บดได้ไปฝัดแยกแกลบ และแยกต้นข้าวหรือใช้ตะแกรงคัดขนาดความยาว ทำการคัดแยกต้นข้าว เพื่อคำนวณหาอัตราการกะเทาะหรือเปอร์เซ็นต์การแตกหักต่อไป

rongseeker

เครื่องบดที่โรงสีโดยทั่วไป จะเป็นแบบลูกหินบดที่ควบคุมการกะเทาะเปลือกโดยใช้ตุ้มน้ำหนักมาตรฐานในการบดข้าวเปลือกให้กะเทาะมากหรือน้อยตามต้องการ จากนั้นจึงนำไปคัดแยกเปอร์เซ็นต์โดยใช้กระด้งฝัด หรือตะแกรงคัดขนาด แต่ปัจจุบันทางราชการได้ออกประกาศให้โรงสี มีเครื่องบดข้าวลาดกระบัง 02/2 เอาไว้ตรวจสอบการกะเทาะโดยเครื่องประกอบด้วยลูกหินกะเทาะที่มีตุ้มน้ำหนัก กดควบคุมการกะเทาะ และตะแกรงคัดขนาดความยาวอยู่ในเครื่องเดียวกัน นอกจากนั้น ยังมีการใช้เครื่องทดสอบการกะเทาะแบบลูกยาง กะเทาะคู่กับตะแกรงคัดขนาดความยาว ในการตรวจสอบอัตราการกะเทาะซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ก็ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าการบดด้วยกระดานบดข้าว การตรวจสอบส่วนผสมข้าวที่กะเทาะได้ สามารถทำได้ทั้งการตรวจสอบด้วยสายตาซึ่งต้องใช้ความชำนาญของผู้ตรวจสอบ การตรวจสอบด้วยวิธีการคัดข้าวแล้วนำมาชั่งน้ำหนักโดยชั่งข้าวตัวอย่าง 50 หรือ 100 กรัม มาคัดแยกเมล็ดข้าวออกจากกัน แล้วนำแต่ละส่วนที่ได้ไปชั่งน้ำหนักมาเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นวิธีที่ถูกต้องมากที่สุด และการตรวจสอบด้วยวิธีวัดปริมาตรโดยใช้หลอดแก้วขนาด 100 มิลลิลิตร ใส่เมล็ดข้าวให้เต็มแล้วเคาะกับพื้นโต๊ะเบา ๆ เพื่อให้เมล็ดเรียงตัวอัดแน่นเต็มหลอด จากนั้นเทข้าวลงบนโต๊ะเพื่อคัดแยกข้าวขนาดต่าง ๆ ออกจากกัน แล้วนำเมล็ดแต่ละขนาดเทลงในหลอดแก้วเพื่อวัดปริมาตรของแต่ละส่วนแล้วเทียบ เป็นเปอร์เซ็นต์ของข้าวชนิดนั้น ๆ

seekaw

การสีข้าวต้องมีการตรวจสอบคุณภาพทุกขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ขั้นตอนการรับซื้อวัตถุดิบ คือข้าวเปลือก ผ่านขั้นตอนการผลิตต่างๆ จนกระทั่งการบรรจุหีบห่อ โดยประกอบด้วยขั้นตอนหลักดังนี้

  1. ทำความสะอาดข้าวเปลือก เพื่อ แยกแยกสิ่งแปลกปลอม เช่น ฟาง เศษพืช ฝุ่น ผง กรวด ทราย ออกจากข้าวเปลือก การทำความสะอาดข้าวเปลือกเป็นการทำความสะอาดแบบแห้งเช่น ตะแกรงร่อน เช่น
    แยกสิ่งแปลกปลอมที่มีขนาดต่างจากข้าวเปลือก เช่น ฝุ่น ฟาง กรวด ทราย และสิ่งเจือปนอื่นๆ อาจใช้ตะแกรงร่อน หรือใช้ลมเป่า เครื่องจักร เรียกว่า GRAIN SEPARATOR
    แยกสิ่งแปลกปลอมที่ มีขนาดใกล้เคียงกับข้าวเปลือก โดยใช้การแยกด้วยความหนาแน่น หรือความถ่วงจำเพาะ โดยเครื่องจักร เรียกว่าเครื่องแยกเม็ดหิน (destoner)
    แยกโลหะด้วยเครื่องจับโลหะ
  2. การกะเทาะเปลือก เพื่อที่จะแยกเอาเปลือกหุ้มเมล็ด ซึ่งเรียกว่า แกลบ (husk) ออกจากเมล็ดข้าว ในขั้นตอนนี้จะใช้เครื่องกะเทาะ (huller) ซึ่งเป็นลูกยางสองลูกหมุนเข้าหากันด้วยความเร็วต่างกัน หรือใช้เครื่องกะเทาะที่ทำด้วยแผ่นโลหะสองแผ่นบุด้วยหินหยาบ เพื่อให้เกิดการเสียดสี กะเทาะให้แกลบหลุดออกจากตัวเมล็ดข้าว ข้าวที่ได้จากขั้นตอนนี้ว่า ข้าวกล้องซึ่งยังมีเยื่อหุ้มเมล็ดและคัพภะติดอยู่ จากนั้นจึง แยกแกลบและข้าวเปลือกยังไม่ถูกกะเทาะออกจากข้าวกล้อง แกลบซึ่งเป็นผลพลอยได้จาการสีข้าว อาจนำไปใช้ เป็นเชื้อเพลิง
  3. การขัดขาวและขัดมัน (whitening and polishing) เป็นการขัดชั้นรำ (rice bran) ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มเมล็ด ออกจากข้าวกล้อง ให้เหลือเฉพาะส่วนของเอนโดเสปอร์ม และขัดมัน เพื่อให้ผิวเรียบเป็นเงาสะอาด รำข้าว ที่เป็นผลพลอยได้จากขั้นตอนนี้ประกอบด้วยเยื่อหุ้มเมล็ด คัพภะ มีไขมันสูง เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันรำข้าว
  4. การคัดขนาดข้าวสาร ใช้ตะแกรงขนาดที่มีรูเปิดที่มีความยาวแตกต่างกัน เพื่อแยกข้าวสารเต็มเมล็ดต้นข้าว (head rice) ออกจากข้าวหัก และปลายข้าว เช่น ปลายข้าวนั้นจะมีความยาวประมาณเท่ากับหรือน้อยกว่า 6/8 ของความยาวเมล็ดเต็ม

คุณภาพข้าวสาร
การสีข้าวเปลือกจะได้ผลิตภัณฑ์ข้าวสารประมาณ 68-70% รำ 8-10% และแกลบ 20-24%
ข้าวสาร คุณภาพดี ควรสีได้ข้าวเต็มเมล็ด (whole kernels) และต้นข้าว (head rice) มากโดยมีข้าวหัก (brokens) น้อยปัจจัยที่ทำให้ข้าวหักในระหว่างการสีคือเมล็ดยาวมาก เมล็ดบิดเบี้ยว หรือไม่สมบูรณ์ เมล็ดมีท้องไข่ หรือ เมล็ดอ่อน การเกิดเมล็ดร้าวก่อนการสี ซึ่งอาจเกิดจากการเก็บเกี่ยวข้าวแช่น้ำ หรือเก็บเกี่ยวช้า รวมทั้งการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวไม่เหมาะสม

  • ข้าวเต็มเมล็ด (whole kernels) หมายถึง เมล็ดข้าวที่อยู่ในสภาพเต็มเมล็ดไม่มีส่วนใดหัก เมื่อแบ่งส่วนข้าวเต็มเมล็ดตามความยาวของเมล็ดออกเป็น 10 ส่วนเท่าๆ กัน ให้รวมถึงเมล็ดข้าวที่มีความยาวตั้งแต่ 9 ส่วนขึ้นไปเป็นข้าวเต็มเมล็ดด้วย
  • ชั้นของเมล็ดข้าว (classes of rice kernels) หมายถึง ชั้นของเมล็ดข้าวที่แบ่งตามระดับความยาวของข้าวเต็มเมล็ด
  • ข้าวขาวเมล็ดยาว ชั้น 1 (long grain class 1) คือ ข้าวเต็มเมล็ดที่มีขนาดความยาวเกิน 7.0 มิลลิเมตร
  • ข้าวเมล็ดยาว ชั้น 2 (long grain class 2) คือ ข้าวเต็มเมล็ดที่มีขนาดความยาวเกิน 7.0 มิลลิเมตร
  • ข้าวเมล็ดยาว ชั้น 3 (long grain class 3) คือ ข้าวเต็มเมล็ดที่มีขนาดความยาวเกิน 7.0 มิลลิเมตร
    ต้นข้าว (head rice) หมายถึง เมล็ดข้าวหักที่มีความยาวมากกว่าข้าวหัก แต่ไม่ถึงความยาวของข้าวเต็มเมล็ด และให้รวมถึงเมล็ดข้าวแตกเป็นซีก ที่มีเนื้อที่เหลืออยู่ ตั้งแต่ร้อยละ 80 ของเมล็ด
  • ข้าวหัก (brokens) หมายถึง เมล็ดข้าวหักที่มีความยาวตั้งแต่ 2.5 ส่วนขึ้นไปแต่ไม่ถึงความยาวของต้นข้าว และให้รวมถึงเมล็ดข้าวแตกเป็นซีก ที่มีเนื้อที่เหลืออยู่ไม่ถึงร้อยละ 80 ของเมล็ด
  • ปลายข้าวซีวัน (small brokens C1) หมายถึง เมล็ดข้าวหักขนาดเล็กที่ร่อนผ่านตะแกรงโลหะรูกลมเบอร์ 7 ( sieve) ผ่าศูนย์กลางรู 1.75 มม. หนา 0.79 มม.

rongseetung

ระดับการสีให้แบ่งระดับการสีออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้

  1. สีดีพิเศษ (extra well milled) คือการสีขัดเอารำออกทั้งหมดจนเมล็ดข้าวมีลักษณะสวยงามเป็นพิเศษ
  2. สีดี (well milled) คือการขัดเอารำออกทั้งหมดจนเมล็ดข้าวมีลักษณะสวยงามดี
  3. สีปานกลาง (reasonably well milled) คือการสีขัดเอารำออกเป็นส่วนมากจนเมล็ดข้าวมีลักษณะสวยงามพอสมควร
  4. สีธรรมดา (ordinarily milled) คือการสีขัดเอารำออกแต่เพียงบางส่วน

ที่มา : – เครื่องจักรกลการเกษตร 2 โดย ผศ.ดร. รุ่งเรือง กาลศิริศิลป์ มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี

ป้ายคำ : , , ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ภูมิปัญญา

แสดงความคิดเห็น

Niño Polla Xxx Folla Con Su Padre KetoSex - الفلم الخالد... اجمل نيك طيز عربي 1 -xnxx سكس مترجم - سكس العرب jav subthai phim sex vietsub xnxx hd Desi Indian Hot Bengali Couple Sex Scene