โสนอินเดีย พืชปุ๋ยสดในนาข้าว

12 มิถุนายน 2559 ไม้พุ่มเตี้ย 0

โสนอินเดียเป็นพืชปีเดียว สูงประมาณ 2.0-3.5 เมตร ออกดอกเมื่ออายุประมาณ 90 วัน ค่อนข้างทนเค็ม เหมาะที่จะใช้ปลูกเป็นพืชปุ๋ยสดในนาข้าว ปลูกพืชนี้ล่วงหน้าก่อนประมาณ 70 วัน ไถกลบเมื่ออายุ 60 วัน ทิ้งช่วงเวลาประมาณ 10 วัน แล้วจึงทำเทือกเพื่อเตรียมปลูกข้าว โสนอินเดียอายุ 60-70 วันให้น้ำหนักสด 2-4 ตัน/ไร่ สะสมไนโตรเจนในพืชได้ 10-15 กิโลกรัม.N./ไร่ ส่วนเหนือดินมีธาตุหลัก คิดต่อน้ำหนักแห้ง ดังนี้ 2.55 %N,0.35 %P และ 3.63 %K ซึ่งจะหมุนเวียนลงไปในดินเมื่อซากพืชสลายตัว

ชื่อสามัญ: Sesbania
ชื่อวิทยาศาสตร์: Sesbania javaica Mig.
วงศ์: Fabaceae (Papilionaceae)
ชื่ออื่นๆ: โสน โสนหิน โสนกินดอก ผักฮองแฮง

ลักษณะพฤกษศาสตร์
โสนอินเดียเป็นพืชล้มลุกอายุสั้นประมาณ 2 – 4 เดือน หรือเมื่อออกดอกติดเมล็ดแล้วก็จะค่อยๆ เหี่ยวแห้งตาย หรือเรียกว่าพืชที่มีอายุปีเดียว ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งมาก ความสูงประมาณ 1 ม. ลำต้นเป็นเหลี่ยมหรือกลมมีร่องละเอียดตามความยาวของลำต้นผิวเรียบ การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบสลับ ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ หรือรูปไข่แกมใบหอกกว้าง ขนาดประมาณ 7 x 4 ซม. ปลายใบแหลมโคนสอบแคบ ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 7 ซม. และมีหนามแหลมยาว 2 อันที่โคนก้านใบ ดอกออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด หรือเป็นช่อกระจุก ออกที่ปลายกิ่ง ชอกใบ ซอกกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกเป็นเหมือนกาบปลายแหลมสีขาวและเขียวขนาดเล็ก ผลเป็นแบบแห้งแล้วแตก โดยแตกตามขวางของผล เมล็ดสีน้ำตาลเป็นมันเงา ทรงกลมตรงกลางทั้งสองด้านนูน ขนาดเล็กประมาณ 0.05 ซม.

sanoindiaton sanoindias sanoindiabai sanoindiadok

โสนเป็นพืชล้มลุกอายุฤดูเดียว อายุมักจะนานหากมีน้ำและดินมีความสมบูรณ์สูงมีสูงประมาณ 1 – 3 ม. ชอบขึ้นในที่น้ำตื้นหรือที่ชื้นแฉะมีลำต้นตั้งตรง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยขนาดเล็กคล้ายใบมะขามแต่แคบและยาวกว่า ดอก สีเหลืองออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ลักษณะช่อห้อยลง แต่ละช่อมี 10 – 15 ดอก ลักษณะดอกคล้ายดอกถั่ว มีกลีบดอก 5 กลีบ รูปร่างไม่เหมือนกัน กลีบนอกสุดมีขนาดใหญ่ที่สุด เกสรตัวผู้มี 10 อัน ผล เป็นผักกลมยาวมีเมล็ดจำนวนมาก

การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด

sanoindiaking

การป้องกันและกำจัด:
ใช้วิธีการเขตกรรม เช่น ถาก ตัด ให้สั้นไม่ให้ออกดอก หรือขุดทิ้ง

เอกสารอ้างอิง:
1. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). พิมพ์ที่ บริษัทประชาชน จำกัด. 2544
รวบรวมโดย: รัตนะ สุวรรณเลิศ
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม

ที่มา
ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้พุ่มเตี้ย

แสดงความคิดเห็น