โหระพา ผักกลิ่นแรงคุณค่าที่มากกว่าความอร่อย

7 พฤษภาคม 2556 พืชผัก 0

โหระพา จัดเป็นพืชผักที่เรารู้จักกันมานานแล้วใช้บริโภคทั้งในลักษณะผักสดหรือใช้ประกอบอาหาร และกลิ่นหอมน่ารับประทานยิ่งขึ้น ใช้ใบปรุงรสอาหารได้หลายอย่าง เช่น แกงเลียง แกงเผ็ด ผัดเผ็ดต่าง ๆ รับประทานแบบสดเป็นเครื่องแนมอาหารได้อย่างดี ทำให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน น้ำมันโหระพาใช้แต่งกลิ่น ขนมผิง ลูกอม ผักดอง เครื่องดื่ม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum basilicum Linn.
วงศ์ Labiatae
ชื่อภาษาอังกฤษ Sweet Basil
ชื่ออื่นๆ คือ อิ่มคิมขาว (ฉาน-แม่ฮ่อง-สอน) กอมก้อ (เหนือ อีสาน) นางพญาร้อยชู้ โหระพาไทย โหระพาเทศ ห่อกวยซวย ห่อวอซู

โหระพาเป็นพืชตระกูลเดียวกับกะเพราและแมงลักแต่กลิ่นรสต่างกัน
ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Sweet basil หรือ Common basil ซึ่งคำว่า Basil เป็นคำที่มาจากภาษากรีกว่า Basilius แปลว่า พระราชา หรือ ผู้นำแห่งปวงชน เนื่องจากว่า กลิ่นหอมของโหระพาเป็นเครื่องหอมอย่างหนึ่งที่ใช้ในราชสำนักในสมัยโรมัน และในทวีปยุโรป

horapayod

ลักษณะทั่วไป

  • ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรงมีความสูง 8-28 นิ้ว ลักษณะของลำต้น และกิ่งก้านเป็นเหลี่ยม แตกกิ่งก้านสาขามีมากผิวเปลือกลำต้นมีเป็นสีเขียวอมม่วง และมีขนปกคลุมทั้งลำต้นมีกลิ่นหอม
  • ใบ : ใบออกเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปรียาว ปลายและโคนใบเรียวแหลม ริมขอบใบเรียบ หรือมีหยักเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3.5 ซม. ยาวประมาณ 2-6 ซม. ใบมีสีเขียวเข้ม ก้านใบยาวประมาณ 0.7-2 ซม.
  • ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ชั้น ๆ คล้ายฉัตร ออกอยู่ตามบริเวณปลายยอด ลักษณะของดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง เชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีสีขาวหรือสีแดงเรื่อ กลีบดอกยาวประมาณ 9 มม.
  • ผล : พอดอกร่วงโรยก็จะติดผล เป็นสีน้ำตาล ผลหนึ่งมีเมล็ด .4 เม็ด ลักษณะของเมล็ดเป็น รูปกลมรี มีขนาดยาวประมาณ 2 มม.

โหระพาเป็นพืชที่แพร่หลายเป็นอย่างมากในแทบทวีปเอเชียและตะวันตก มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดียโหระพาเป็นไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นและกิ่งก้าเป็นเหลี่ยม มีสีม่วงหรือแดงเข้ม ใบเป็นรูปไข่หรือรูปวงรี ปลายแหลมขอบจักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มีสีขาวหรือชมพูอ่อน ยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร
โหระพามีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและแอฟริกา โหระพาเป็นพืชพื้นเมืองของอินเดีย แต่แพร่หลายทั้งในเอเชียและดินแดนตะวันตก

horapaton

โหระพาช้าง Ocimum gratissimum Linn. หรือกะเพราญวน จันทร์หอม เนียมตัน เนียมยี่หร่า เป็นไม้พุ่มสูงคล้ายโหระพาแต่มีขนาดใหญ่กว่า
ใบโหระพาช้างมีข้อแตกต่างจากโหระพาเนื่องจาก มีสารสำคัญในน้ำมันหอมระเหยต่างกัน ใบโหระพาช้างมียูจีนอล (eugenol) เป็นสารหลักทำให้ไม่นิยมใช้ประกอบอาหารเท่าโหระพา

ประโยชน์
โหระพาเป็นพืชที่มีกลิ่นหอม นิยมนำมาประกอบอาหารหลากชนิดในประเทศไทย ช่วยปรุงแต่งกลิ่นรสของอาหารให้น่ากินยิ่งขึ้น ช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารหลายชนิด เช่น ผัดหอย ผัดเนื้อ ใช้ใบปรุงอาหารเป็นผักโรยชูรสได้หลายชนิด เช่น แกงเผ็ด แกงเลียง ผัด ทอด ใบและยอดอ่อนใช้กินเป็นผักสด เป็นเครื่องแนมอาหารคาวหรืออาหารว่างได้เป็นอย่างดี

คุณค่าของอาหารส่วนที่กินได้ของโหระพาสด 100 กรัม

  1. ให้พลังงาน 44 กิโลแคลอรี
  2. โปรตีน 3.3 กรัม
  3. ไขมัน 1.0 กรัม
  4. คาร์โบไฮเดรต 5.4 กรัม
  5. แคลเซี่ยม 165.00 มิลลิกรัม*
  6. ฟอสฟอรัส 46.00 มิลลิกรัม
  7. เหล็ก 2.84 มิลลิกรัม
  8. วิตามิน บี 1 9.12 มิลลิกรัม
  9. ไนอาซีน 0.8 มิลลิกรัม
  10. วิตามิน ซี 22.00* มิลลิกรัม
  11. เบต้า แคโรทีน 452.16* RE
  12. ใยอาหาร 3.90* กรัม

โหระพาเป็นสมุนไพรที่มีรสชาติละเอียดอ่อน ถ้าใช้ปรุงอาหารจะใส่โหระพาแล้วยกลงทันทีเพื่อให้ไม่เสียกลิ่นรสไป

horapadok

โหระพามีสรรพคุณทางยาสมุนไพรที่หลากหลาย ใบสดของโหระพามีสรรพคุณแก้ท้องอืด เฟ้อ ขับลมจากลำไส้ ต้มดื่มแก้ลมวิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร ใช้ตำพอกหรือประคบแก้ไขข้ออักเสบ แผลอักเสบ ต้มใบและต้นสดเข้าด้วยกัน ต้มเอาน้ำดื่ม แก้หวัด ขับเหงื่อ ถ้าเด็กปวดท้อง ใช้ใบโหระพา 20 ใบ ชงน้ำร้อนและนำมาชงนมให้เด็กดื่มแทนยาขับลมได้ ใบโหระพาแห้งต้มกับน้ำ มีสรรพคุณต้านเชื้อก่อโรค

  1. แก้ไข้ ปวดศรีษะ ขับเหงื่อ ขับลม ขับเสมหะ ขับพยาธิ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย ช่วยเจริญอาหาร โดยใช้ยอดอ่อนต้มกับน้ำรับประทานเป็นชาหรือรับประทานเป็นผักสด
  2. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะและยาระบายอ่อน ๆ เพื่อแก้อาการท้องผูก โดยนำเมล็ดแก่แช่น้ำให้พองตัวเต็มที่รับประทานกับขนมหวานโดยผสมกับน้ำหวานและน้ำแข็ง
  3. ใช้รักษาอาการเหงือกอักเสบเป็นหนอง โดยบดใบโหระพาแห้งให้เป็นผงทาบริเวณที่เป็น
  4. บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน โดยคั้นน้ำจากใบโหระพาสด ประมาณ 1ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอ้อย 2ช้อน รับประทานวันละ 2ครั้ง พร้อมกับน้ำอุ่น
  5. แก้สะอึก โดยใช้ใบโหระพาสดหรือแห้งพร้อมขิงสดแช่ในน้ำเดือดรับประทานในขณะที่น้ำยังร้อน
  6. น้ำมันโหระพาสามารถฆ่ายุงและแมลงได้
  7. เมล็ดแก่แช่น้ำใช้พอกแผลบรรเทาอาการฟกช้ำ

การปลูกโหระพา
โหระพาเป็นพืชที่ปลูกได้ทั่ว ๆ ไป ปลูกได้หลายฤดู เราสามารถปลูกโหระพาได้ง่าย ๆ ใช้พื้นที่ไม่มาก ในบริเวณที่แสงแดดส่องถึง พรวนดินให้ร่วนทำเป็นร่องเล็ก ๆ ใส่ปุ๋ยคอกใช้กิ่งโหระพา ที่เรานำมาปรุงอาหาร ให้มีใบเหลือติดกิ่งบ้าง 4 5 ใบปักลงในดินที่เตรียมไว้ หรือปลูกในกระถางดินเผา รดน้ำให้ชุ่ม ๆ ทุกวัน ภายในเวลาประมาณ 30 วัน ก็จะเจริญแตกยอดอ่อน กิ่ง ก้านใบ ให้เราตัดไปปรุงอาหารได้ตลอด

horapasuan

  1. เตรียมดินให้มีความร่วนซุยเหมาะสมกับการปลูกพืชรากลึกปานกลางอย่างโหระพาด้วยการไถพรวน หรือหากปลูกเพื่อใช้ในครัวเรือนก็สามารถขุดเป็นหลุมขนาด 30 ซม. แล้วรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากับดินที่จะใช้ปลูก
  2. หากเป็นการปลูกแปลงขนาดใหญ่หรือปลูกเพื่อการค้าก็ควรจะตากดินทิ้งไว้ 7 10 วัน แล้วไถพรวนซ้ำอีกรอบหนึ่งเพื่อให้ดินร่วนซุย ในขั้นตอนนี้หากสภาพดินเป็นกรดหรือด่างจนเกินไปก็สามารถใช้ปูนขาวหรือปูนมานโรยบนหน้าดินแล้วไถไปพร้อมกัน
  3. ขุดหลุมขนาด 30 ซม.โดยให้ระยะห่างระหว่างต้นอยู่ที่ 80 ซม. ถึง 1 เมตร (ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บเกี่ยว)
  4. ความพิเศษของพืชประเภทโหระพาหรือกระเพานั้นคือการที่สามารถตัดกิ่งแก่จากต้นอื่นมาปลูกใหม่ด้วยการตัดส่วนที่เป็นข้อต่อแต่วิธีนี้คงจะใช้ได้ผลกับการปลูกเพื่อใช้ในครัวเรือน หากต้องการปลูกเพื่อการค้าหรือจำนวนมากแล้วส่วนใหญ่เกษตรกรนิยมปลูกในถาดหลุมแล้วรดน้ำอย่างสม่ำเสมอแล้วจึงค่อยนำไปลงแปลงเพื่ออัตราการงอกที่ดีกว่า หรือเพาะอนุบาลบนแปลงก่อนโดยการโรยเมล็ดให้ทั่วแล้วคลุมดินรักษาความชื้นด้วยฟางหรือแกลบแล้วรดน้ำเช้าเย็นจนกว่าเมล็ดจะงอกและมีอายุ 20 25 วันแล้วจึงย้ายลงแปลงใหญ่ ซึ่งอาจจะดูเฉาๆ ในระยะแรกเพราะรากยังไม่ได้ปรับตัวแต่จะดีขึ้นในช่วงที่พ้น 3 4 วันแรกที่ลงแปลง
  5. ให้ปุ๋ยผสมน้ำราดเช้าเย็นๆ ทุกๆ 10 15 วันหลังจากลงแปลงเพื่อให้ลำต้นแข็งแรง ยอดสวยและเจริญเติบโตได้ดี หรือจะเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักใส่ตามโคนต้นก็ดีไม่น้อย
  6. โหระพาสามารถเก็บเกี่ยวได้ในระยะเวลา 30 35 วันนับตั้งแต่ลงแปลงปลูกโดยเก็บทุกๆ 15 วันเรื่อยไปจนกว่าจะอายุได้ 7 8 เดือน

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด พืชผัก

แสดงความคิดเห็น