โหรา พืชมีพิษ

4 สิงหาคม 2559 ไม้ใต้ดิน 0

ต้อโหรา เป็นไม้ล้มลุก ต้นแตกกอเป็นพุ่มกว้าง สูงกว่า 1 เมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ก้านใบสีดำเป็นมัน น้ำยางจากทุกส่วนของต้นและเมล็ด เป็นพิษ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Alocasia macrorhiza Schott
ชื่อท้องถิ่น: เชียงใหม่ บึมปื้อ ,ยะลา – เอาะลาย,สงขลา-ยะลา โหรา,มาลายู-ยะลา กลาดีบูเก๊าะ
ชื่ออังกฤษ: Riesen-taro, Elephant Ear
ถิ่นกำเนิด: ศรีลังกา อินเดีย จนถึงมาเลเซีย

ลักษณะ
ไม้ล้มลุก ต้นแตกกอเป็นพุ่มกว้าง สูงกว่า 1 เมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ก้านใบสีดำเป็นมัน

  • ใบ: ใบเดี่ยว รูปไข่ขนาดใหญ่ โคนใบเว้าลึกแคบๆ คล้ายเงี่ยงลูกศร ขอบใบเป็นคลื่นหรือม้วนเข้าด้านใน ใต้ใบและก้านใบสีเขียวเข้มหรือม่วงแดง
  • ดอก: ออกเป็นช่อยาว ปลีและจานรองดอกสีขาวนวลหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม
  • ผล: ผลสดรูปรี เนื้อนุ่ม เมื่อสุกเป็นสีส้มหรือแดง เนื้อนุ่ม มี 1 เมล็ด

horaon horata horaton horadok

ส่วนที่เป็นพิษ: น้ำยางจากทุกส่วนของต้นและเมล็ด

สารพิษ: Calcium Oxalate ลักษณะผลึกเป็นรูปเข็ม ไม่ละลายน้ำ (bundle of the needle like crystals ; raphides) ส่วนที่มีผลึกมาก คือ น้ำยางใสจากทุกส่วนของต้น โดยเฉพาะลำต้น และใบ

อาการพิษ
หากสัมผัสน้ำยางจะทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง มีผื่นคัน ผิวหนังบวมแดง ปวดแสบปวดร้อน ต่อมาจะอักเสบบวมและพองเป็นตุ่มน้ำใส หากเข้าตาจะทำให้ตาอักเสบ อาจทำให้ตาบอดชั่วคราวหรือถาวรได้

หากรับประทานส่วนของพืชที่มีน้ำยาง จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกในปากและลำคอ ทางเดินอาหารอักเสบ คันปาก คันคอ แสบร้อน เพดานบวมพองเป็นตุ่มน้ำใส อาการอาจรุนแรงจนกระทั่งกลืนอาหารไม่ได้ พูดลำบาก ไม่มีเสียง และอาจทำให้หายใจลำบากได้

horas

การรักษา
หากสัมผัสน้ำยาง ให้ล้างออกโดยใช้น้ำสบู่ชะล้างหลายๆ ครั้ง แล้วทาด้วยครีมสเตียรอยด์ หรือรับประทานยาแก้แพ้ เช่น คลอเฟนนิรามีน 4 มก. ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง เพื่อลดการอักเสบและอาการบวม จนอาการดีขึ้น

หากน้ำยางเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆครั้ง อาจหยอดตาด้วยยาหยอดตาที่มีสเตียรอยด์ แล้วนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที

หากรับประทานส่วนของพืชที่มีน้ำยาง ให้ล้างปาก และดื่มน้ำมากๆ อมและดื่มสารละลาย Aluminium magnesium hydroxide (ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร) 30 มล. ทุก 2 ชั่วโมง ถ้ามีอาการเพียงในช่องปาก ให้รับประทานอาหารเหลวจนอาการทุเลาลง เฝ้าระวังการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน ที่สำคัญ ไม่ควรทำให้อาเจียน เพราะจะทำให้สารพิษสัมผัสกับเยื่อบุปาก และลำคออีกครั้ง

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ใต้ดิน

แสดงความคิดเห็น