โอ่งงามละมุล บ่อหมักก๊าชชีวภาพแบบโอ่ง

16 พฤษภาคม 2557 พลังงาน 5

โครงการพลังงานโอ่งก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ จังหวัดสระแก้วเป็นจังหวัดแรกในประเทศไทยที่สามารถใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ โดยใช้โอ่งบรรจุน้ำขนาด 2,000 ลิตร ( 2 คิว ) เป็นถังหมักก๊าซ หรือมีคนทั่วไปรู้จักในนาม ” โอ่งงามละมุล ซึ่งคิดค้นโดย นางละมุล นายพลายงาม แก้วตาล ที่อยู่ 65 หมู่ 5 บ้านทรัพย์ตะเคียน ตำบลซับมะกรูด อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว โดยได้จดทะเบียนจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา และได้เผยแพร่ไปสู่เกษตรกรอื่นๆ ภายในจังหวัดสระแก้ว และจังหวัดอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก ผู้ใหญ่ละมุล แก้วตาล ได้รับรางวัล Thailand Energy Award 2010 ประเภทผู้นำชุมชนดีเด่น จากกระทรวงพลังงาน จากภูมิปัญญา ถือว่าเป็นการลดรายจ่ายค่าก๊าซหุงต้มของเกษตรกรและลดมลภาวะจากกลิ่นปศุสัตว์ได้อีกด้วย

ongngamlamungas

การผลิตแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์(ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง)

  1. โอ่งแก๊สชีวภาพ ขนาด ๒,๐๐ ลิตร
  2. ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง ๕,๐๐๐ บาท/บ่อ
  3. ใช้แก๊สชีวภาพแทนแก๊สหุงต้มในครัวเรือน
  4. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    -. ลดค่าใช้จ่ายด้านแก๊สหุงต้มปีละ ๓,๖๐๐ บาท/ครัวเรือน
    -. ลงค่าใช้จ่ายซื้อปุ๋ยเคมีปีละ ๕,๐๐๐ บาท / ครัวเรือน
    -. ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม
  5. จำนวนสัตว์ที่เหมาะสมในการเลี้ยงเพื่อผลิตแก๊สชีวภาพในครัวเรือน
    -.โค-กระบือ ๓-๕ ตัว

รายการวัสดุอุปกรณ์ และราคา

  • ทรายหยาบ จำนวน ๒ คิว ๘๐๐บาท
  • ปูนซิเมนต์ จำนวน ๘ ถุง ๘๘๐บาท
  • หินเบอร์ ๑ จำนวน ๑ คิว ๔๐๐ บาท
  • อิฐบล็อค จำนวน ๘๐ ก้อน ๓๒๐ บาท
  • เหล็ก ขนาด ๒ หุน จำนวน ๑ เส้น ๕๐ บาท
  • ท่อใยหิน ๔ นิ้ว ยาว ๒ ม.จำนวน ๑ ท่อน ๖๐ บาท
  • ท่อเหล็ก ๖ หุน ยาว ๕๐ ซม ๖๐ บาท
  • บ่อปูน ๘๐ ซม. จำนวน ๑ อัน ๙๐ บาท
  • ฟริ๊นโค้ท ๑ ลิตร ๘๐ บาท
  • น้ำยากันซึม จำนวน ๑ ลิตร ๔๐บาท
  • ท่อ PVC ๔ หุน ๒๔๐ บาท
  • หัวเตาแก๊ส พร้อมขาตั้ง จำนวน ๑ ชุด ๕๐๐ บาท
  • วาล์วปิด-เปิด จำนวน ๒ ตัว ๑๕๐ บาท
  • สายยาง จำนวน ๒ เมตร ๓๐ บาท
  • โอ่ง ขนาด ๒,๐๐๐ ลิตร จำนวน ๑ ใบ ๑,๐๐๐ บาท
  • ข้อต่อ กาว และอื่น ๆ ประมาณ ๓๐๐ บาท

รวม ๕,๐๐๐ บาท

วิธีการเติมมูลสัตว์

  1. เติมทุกๆ ๒-๓ วัน ประมาณ๓๐กก.ผสมน้ำในอัตรา ๑:๑ ในน้ำ ๓๐ ลิตร
  2. ใน 1 เดือน เติมน้ำ + มูลสัตว์ (๓๐+๓๐) x ๑๕= ๙๐๐ กก. ปริมาณกากที่เกิดขึ้น เดือนหนึ่งสามารถเก็บกากตากแห้งได้ประมาณ ๖ กระสอบ กระสอบละ ๕๐ กก. รวม ๓๐๐กก.

ปริมาณน้ำหมักจากบ่อแก๊สชีวภาพ

  1. เติมน้ำ ๓๐ลิตรต่อครั้ง ๑ เดือน เติม ๑๕ครั้ง ได้น้ำหมัก ๔๕๐ลิตร/เดือน
  2. นำน้ำหมักไปผสมน้ำสะอาดในอัตรา ๑:๒๐
  3. จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ (น้ำ) = ๙,๐๐๐/เดือน
  4. นำปุ๋ยอินทรีย์(น้ำ)หรือน้ำหมักจากบ่อแก๊สชีวภาพไปฉีดพ่นทางใบในอัตรา ๔๐-๘๐ลิตร/ไร่

ขอขอบคุณ คุณพลายงาม คุณละมุล แก้วตาล อยู่บ้านเลขที่ ๖๕ หมู่ที่๕ บ้านทรัพย์ตะเคียน
ตำบลซับมะกรูด อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว ที่แนะนำข้อมูล และความรู้


บ่อหมักก๊าชชีวภาพแบบโอ่ง
บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง เป็นระบบผลิตก๊าซชีวภาพ จากการหมักมูลสัตว์อย่างง่าย ได้ผลผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ ซึ่งประกอบด้วยก๊าซมีเทน ร้อยละ 50-75 เป็นก๊าซที่ติดไฟได้ สำหรับใช้หุงต้ม ภายในครัวเรือน นอกจากนี้ ยังได้ผลผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ที่สามารถนำมาใช้ปรับปรุงดิน ในพื้นที่ทำการเกษตรอีกด้วย

gasongs gasongl

วิธีการใช้งาน

  1. ให้เตรียมมูลวัว (มูลต้องสดอย่างเดียว มูลที่ใช้ต้องไม่เกิน 2 วัน) ใช้มูลต่อน้ำอัตราส่วน 1 ต่อ 1 คือ มูล 1 ส่วน ต่อน้ำ 1 ส่วน คนผสมให้เข้ากัน เติมลงในบ่อ ให้ได้ระดับอิฐบล็อก 3 ก้อน หรือ 60 เซนติเมตร
  2. เมื่อเติมได้ระดับ 60 เซนติเมตร แล้วต่อไปให้เตรียมมูลวัว ต่อน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 2 ทุกวัน ประมาณ 10 วัน จึงจะได้แก๊ส
  3. เมื่อครบ 10 วันแล้ว ให้เปิดวาล์วหัวแก๊สวันละครั้ง เป็นเวลา 3 วัน (การเปิดวาล์ว ให้เปิดแล้วได้ยินเสียงลมออก จนไม่ได้ยินเสียงลมออก แล้วจึงปิดวาล์ว) หลังจากนั้นจึงนำแก๊สมาใช้ได้ตามปกติ

วัสดุอุปกรณ์

  1. ถังส้วม เส้นผ่านศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร
  2. ท่อใยหิน เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 2 เมตร
  3. โอ่งแดง
  4. ท่อนำแก๊สขนาด 4 หุน ยาว 45 เซนติเมตร
  5. อิฐบล็อก 80 ก้อน ปูน 8-10 ถุง
  6. ทรายและหิน อย่างละ 1 ลบ.ม.
  7. น้ำยากันซึม 1 ลิตร
  8. ฟลิ้นโค้ท 1 กระป๋อง
  9. เหล็ก 2 หุน 2-3 เส้น

ขั้นตอนการผลิต บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง

ขั้นตอนที่ 1 : ขุดดินเพื่อวางโอ่ง ซึ่งเป็นบ่อหมัก ลึกประมาณ 1-1.2 เมตร และขุดดินด้านหน้า ต่อจากโอ่ง สำหรับสร้างบ่อมูลล้น 2x2x0.7 เมตร

ongngaskud

ขั้นตอนที่ 2 : นำโอ่งลง และเจาะรูสำหรับเติมมูล ทำมุม 90 องศากับบ่อล้น สูงจากก้นโอ่ง 30 เซนติเมตร ขนาด 4 นิ้ว สวมท่อใยหินเข้ากับโอ่ง พร้อมกับใช้ปูนเค็มผสมน้ำยากันซึม อุดรูให้สนิท

onggastor

ขั้นตอนที่ 3 : นำถังส้วม 80 เซนติเมตร วางทับท่อใบหิน เป็นบ่อเติมมูล และเทพื้น โดยให้เอียงเข้าหาปากท่อ

onggastae

onggastobo

ขั้นตอนที่ 4 : เจาะผนังด้านหน้าโอ่ง 40×40 เซนติเมตร วัดจากก้นโอ่ง เพื่อทำช่องระบายมูล

onggaskudd

ขั้นตอนที่ 5 : ทำบ่อมูลล้น โดยเทพื้นหนา 5 เซนติเมตร และก่อบล็อกขนาด 2x2x0.7 เมตร ให้เสมอบ่าโอ่ง และฉาบเรียบด้านใน

onggasbor

ขั้นตอนที่ 6 : ฉาบขัดมันทั้งด้านใน และด้านนอก และด้านในโอ่ง โดยเน้นตั้งแต่ครึ่งโอ่งบน ซึ่งจะเป็นส่วนที่ใช้เก็บก๊าซ

onggaschab

onggasni

ขั้นตอนที่ 7 : ทำแบบพื้น โดยวัดขนาดจากปากโอ่ง ให้สวมค้างปากโอ่งได้ ขุดดินตามแบบขนาดที่วัดได้ ลึก 3.5 ซม. ใช้ท่อนำแก๊สขนาด 1/4 นิ้ว สวมกลางแบบ ให้ท่อเลยแบบลงด้านล่าง 2-3 เซนติเมตร เทปูนที่ผสมน้ำยากันซึม ทิ้งให้แห้ง

ongngasfab ongngasfaba

ขั้นตอนที่ 8 : วางแบบพื้นที่ได้จากข้อ 7 บนปากโอ่ง ทำแบบ สำหรับเทรอบปากโอ่ง สูง 20 เซนติเมตร เทปูนที่ผสมน้ำยากันซึม กระทุ้งปูนไล่อากาศให้ทั่วแบบ ทิ้งไว้ให้หมาด ปั้นปูน หรือก่อขอบสูง 5 เซนติเมตร เพื่อขังน้ำตรวจสอบรูรั่ว

ongngasfa

onggasborb

ongngasfapidongngasfanam

ขั้นตอนที่ 9 : ทาฟลิ้นโค้ท ทั้งนอกและในโอ่ง 2 รอบ

ขั้นตอนที่ 10 : รอให้ปูนเซ็ตตัวประมาณ 3-5 วัน ระหว่างรอ จะต้องบ่มปูนกันร้าว หลังจากนั้นนำมูลวัวผสมน้ำ 1:1 เติมให้เต็ม หมัก 10-15 วัน จะได้ก๊าซชีวภาพใช้งาน

ongngasfabos ongngasfabo

คุณสมบัติของ บ่อหมักก๊าซชีวภาพ

  • เป็นพลังงานก๊าซชีวภาพ จุดติดไฟ และให้ความร้อน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ใช้หุงต้มอาหาร จุดตะเกียงให้แสงสว่าง
  • รักษาสิ่งแวดล้อม ป้องกันกลิ่น และไข่แมลงต่างๆ ที่มีอยู่ในมูลสัตว์ จะถูกทำลายลงไป ในขณะที่มีการหมัก
  • ให้ปุ๋ยอินทรีย์ ในการฟื้นฟูสภาพดิน
  • ช่วยลดการระบาดของโรคพืช และวัชพืช
  • ปริมาณแก๊สที่เกิดต่อบ่อ 1 ครั้ง ใช้ได้ประมาณ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง (80 ปอนด์) ถ้าแก๊สหมดจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที จึงจะมีแก๊สเกิดขึ้นใหม่อีกครั้ง ถ้าจะให้เกิดแก๊สขึ้นเร็วกว่านั้น ต้องผสมขี้วัวกับน้ำเทลงไปด้วย

สำนักวิชาการ พลังงานภาค 5 กระทรวงพลังงาน
เลขที่ 27 หมู่ที่ 4 ถนนมิตรภาพ-หนองคาย ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000
โทรศัพท์ 044 372 470, 044 372 290 ต่อ 15
โทรสาร 044 372 470, 044 372 290 ต่อ 15, 16

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด พลังงาน

5 ความคิดเห็น

  1. Chuvong Seangkong
    บันทึก สิงหาคม 6, 2558 ใน 20:12

    บ่อมูลล้นต้องปิดฝาหรือเปล่าครับ หรือต้องทำอย่างไรกับตรงนี้

  2. บันทึก สิงหาคม 6, 2558 ใน 20:29

    บ่อล้นเป็นส่วนที่ล้นจากการหมัก ไม่ต้องปิด แต่หากเป็นฤดูฝนก็หาวัสดุปิดก็ดี กันน้ำขัง

  3. Chuvong Seangkong
    บันทึก สิงหาคม 8, 2558 ใน 11:17

    ขอบคุณมากครับ ผมศึกษาเพื่อจะไปทำใช้จริงนะครับ ขอโทษที่ถามเพิ่มเติม ดูจากรูป ถ้าไม่ปิดถังบ่อมูลล้น เมื่อเราเติมมูลลงไปในถังหมัก มันจะล้นออกมาทางบ่อมูลล้นหรือเปล่าครับ

  4. บันทึก สิงหาคม 8, 2558 ใน 20:39

    เพิ่มรายละเอียด + ภาพ ขั้นตอนให้แล้วนะครับ

  5. Chuvong Seangkong
    บันทึก สิงหาคม 10, 2558 ใน 15:49

    ขอบคุณมากครับ

แสดงความคิดเห็น