ไบโอชานอ้อย บรรจุภัณฑ์ชนิดนี้เป็นผลผลิตจากเทคโนโลยีชีวภาพ ที่นำวัสดุเหลือใช้ในบ้านเราอย่างชานอ้อยที่เหลือจากอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาลมาผลิต
ไบโอชานอ้อยนั้นเป็น บรรจุภัณฑ์สะอาด ที่ไม่ปล่อยของเสียตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงกระบวนการจัดการ ต้องขยายความถึงขั้นตอนการผลิตก่อนว่า ในการผลิตไบโอชานอ้อยนั้น เริ่มจากการนำเยื่อกระดาษชานอ้อยที่เหลือจากอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลมาแล้ว นำไปผสม ตี ผ่านกระบวนการป้องกันน้ำรั่วซึม และขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ต่างๆ กว่า 70 ชนิด เช่น จาน ชาม ถาด ถ้วยน้ำ ละกล่องพร้อมฝาปิด ฯลฯ
และถ้านำบรรจุภัณฑ์ไบโอชานอ้อยมาเทียบกับกล่องโฟมจะเห็นว่า บรรจุภัณฑ์ไบโอชานอ้อยจะมีสีหม่นๆ ไม่ขาวสะอาดเหมือนกล่องโฟม นั่นเพราะในกระบวนการผลิตจะไม่ใช้คลอรีนฟอกสี ทำให้สีที่ได้ไม่ขาวสะอาดแต่มั่นใจได้ว่าสะอาดปลอดเชื้อและสารปนเปื้อนเพราะในทุกขั้นตอนจะต้องผ่านอุณหภูมิความร้อนที่ 160 องศาเซลเซียส เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อก่อนถึงมือผู้บริโภค
ความแตกต่างของ บรรจุภัณฑ์ ไบโอชานอ้อยกับโฟมทั่วไป
ใช้กระบวนการผลิตที่เรียบง่าย ไม่เหลือของเสียจากการผลิต และสามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ได้ทั้งหมด
ในการฝังกลบ สามารถย่อยสลายได้เองในธรรมชาติภายใน 30-45 วัน ในขณะที่โฟมไม่สามารถย่อยสลายได้เองและต้องสิ้นเปลืองพลังงานและสร้างของเสียจากกระบวนการผลิตและกำจัดอีกด้วย
ผลิตจากธรรมชาติ 100% ซึ่งเป็นวัสดุที่เหลือใช้และหาได้ง่ายในท้องถิ่น ส่วนโฟมเป็นผลิตภัณฑ์จากปิโตรเคมีที่ต้องอาศัยการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ
ทนความเย็นและความร้อนสูงได้ตั้งแต่ -40 จนถึง 220 องศาเซลเซียส จึงสามารถใช้กับการแช่แข็ง หรือใช้เป็นภาชนะในเตาไมโครเวฟหรือเตาอบได้โดยไม่ก่อสาร CFC ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง เมื่อถูกความร้อนเหมือนโฟมทั่วไป
บรรจุภัณฑ์ของไบโอนี้ ถือเป็นนวัตกรรมสีเขียวที่มีคุณสมบัติดีเด่นหลายประการ ตั้งแต่กระบวนการผลิตที่เรียบง่าย ประหยัดพลังงานกว่าการผลิตพลาสติก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้เยื่อจากไม้ยืนต้น และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า ECF คือไม่ใช้คลอรีนในการฟอกสีเยื่อกระดาษ ทำให้ได้เยื่อกระดาษที่สะอาด และปลอดภัย และผ่านการฆ่าเชื้อด้วยแสง UV อีกครั้ง ก่อนจะส่งถึงผู้บริโภค
จานชามจากชานอ้อยย่อยสลายได้ในเวลา 45 วันเท่านั้นเอง แต่อุปสรรคที่ทำให้คนส่วนใหญ่ยังไม่เปิดใจเปลี่ยนมาใช้จานชามจากชานอ้อย ก็เพราะ ราคาที่แพงกว่าโฟม 2 เท่า แม้ว่าจะถูกกว่าพลาสติกใช้แล้วทิ้งก็ตาม เมื่อคนใช้น้อย สินค้าผลิตน้อย ต้นทุนต่อชิ้นจึงสูงแต่ถ้าเมื่อไหร่คนหันมาใช้เยอะขึ้น ราคาก็ย่อมจะถูกลง เหมือนในหลายๆประเทศ ที่บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ราคาถูกกว่าโฟมแล้ว และในที่สุดภาชนะโฟมจะต้องสูญพันธุ์ไปจากโลกเสียที
ถึงแม้ว่าบรรจุภัณฑ์ไบโอชานอ้อยจะเป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม แต่ก็ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมในบ้านเรามากในขณะที่ที่เมืองนอก ประเทศในแถบยุโรป อเมริกา หรือ ญี่ปุ่น กลายเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากว่าโฟม
ถ้ามาดูที่สาเหตุแล้วก็จะเห็นว่าเรื่องราคาที่สูงกว่าโฟมทั่วไปประมาณ 2 เท่า (จากข้อมูล บริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ระบุว่า ราคาของไบโอชานอ้อยนั้นอยู่ที่ประมาร 3-4 บาทต่อชิ้น ) ซึ่งคนทั่วไปจะมองว่า ทำไมต้องซื้อแพงกว่าในเมื่อมีของราคาถูกกว่าให้ใช้ แต่ลืมนึกไปว่า เงินที่ประหยัดได้นั้น จะเพียงพอกับการค่ารักษาพยาบาลกับปัญหาสุขภาพในระยะยาวที่เป็นผลมาจากพิษภัยของโฟมหรือไม่
ป้ายคำ : บรรจุภัณฑ์